ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ อาจเกิดจากโรคที่แฝงอยู่


การนอนหลับ เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด และช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น มีกำลังจะทำสิ่งต่างๆ ในวันต่อไป เปรียบเสมือนการฟื้นฟู และชาร์จพลังงานของร่างกาย ดังนั้น การนอนไม่หลับ ไม่ว่าจะในช่วงวัยใด ก็ย่อมเกิดผลเสีย

ผู้สูงอายุมักมีปัญหาคุณภาพการนอนที่ลดน้อยลง อาจหลับยากขึ้น ตื่นบ่อย หลับไม่ลึก และตื่นมาไม่สดชื่น โดยมีสาเหตุจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงตามวัย รวมถึงอาจมีสาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด ความวิตกกังวล อาการปวดต่างๆ กรดไหลย้อน ปัญหาการหายใจหรือโรคนอนกรน ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน และผลข้างเคียงจากยา

อาการนอนไม่หลับมักส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการลื่นหกล้ม อารมณ์หงุดหงิดหรือภูมิคุ้มกันลดลงจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ และทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา

การดูแลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนที่ดี มีดังนี้

1. จัดห้องนอนให้มีบรรยากาศที่ช่วยให้หลับสบาย เช่น เงียบสงบ ใช้ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน และผ้าห่มที่มีสีไม่ฉูดฉาด ปรับอุณหภูมิในห้องให้เหมาะสม ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป

2. พยายามนอนให้เป็นเวลาและสถานที่เดิมทุกวันเพื่อให้เกิดความเคยชิน

3. ไม่ควรเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำมากนัก เวลาที่เหมาะสมคือ 3-4 ทุ่ม และตื่นตี 4-5

4. พยายามดื่มน้ำช่วงเช้าและกลางวัน และดื่มให้น้อยลงหลังอาหารเย็น เพื่อลดการปัสสาวะตอนกลางคืน นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหลังเวลาบ่าย 2 โมง

5. ไม่ควรนอนกลางวันเป็นเวลานานๆ ไม่ควรงีบหลังบ่าย 3 โมง เพราะจะทำให้กลางคืนหลับยาก

6. ปรึกษาแพทย์เพื่อทบทวนยาที่อาจทำให้นอนไม่หลับและรักษาต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ

7. หากต้องใช้ยานอนหลับ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากการใช้ยาอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ติดได้

นอกจากนี้ อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุอาจเกิดจากปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้เช่นเดียวกัน ทำให้นอนหลับไม่สนิท และมีความกังวลกลัวว่าจะปัสสาวะเรี่ยราด ดังนั้น หากมีโรคดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แก้ไขได้ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ รวมไปถึงการออกกำลังกายและขยับเขยื้อนให้กล้ามเนื้อร่างกายแข็งแรงขึ้นหรือฝึกการกลั้นปัสสาวะ

ปัญหาการนอนไม่หลับส่งผลเสียต่อผู้สูงอายุอย่างมาก ดังนั้น ควรจัดห้องนอนให้เอื้อต่อการนอนหลับที่ดี และหากผู้สูงอายุมีโรคต่างๆ ควรเร่งรักษาโดยเร็ว


บทความที่เกี่ยวข้อง

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเกาต์

โรคเกาต์ เป็นโรคอันดับต้นๆ ที่พบได้ในผู้สูงอายุ เกิดจากการใช้และขับถ่ายสารพวกพิวรี

กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ดูแลและป้องกันได้อย่างไร

อาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง แม้จะไม่ได้พบบ่อยนัก แต่ก็เกิดขึ้นได้ เกิดจากความผิดป

ทานอาหารอย่างไร เมื่อเป็นโรคเกาต์

ในช่วงบั้นปลายของชีวิต คุณอาจอยากมีความสุขมากที่สุด ได้พักผ่อน ได้ทานของอร่อย แต่กา

พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เสี่ยงโรคร้าย

การนอนหลับ เป็นกระบวนการที่ร่างกายทำหน้าที่ตามธรรมชาติเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต คนเราจึง

อาการที่บ่งบอกว่าขาดสารอาหาร และวิธีการแก้ไข

ในวัยสูงอายุนั้น การกินอาหารมักด้อยประสิทธิภาพลง เนื่องจากปัจจัยในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่

อาการข้อไหล่ติด ออกกำลังกายช่วยได้

โรคข้อไหลติด (Adhesive Capsulitis / Frozen Shoulder) เป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มอายุ 40-60 ปี จะมีอาการปวดตื้อๆบริเวณข้อไหล่ มักจะปวดมาก