แคลเซียม แร่ธาตุที่จำเป็นในช่วงวัยสูงอายุ



แคลเซียม มีบทบาทสำคัญต่อการเสริมสร้างกระดูกและฟันของคนเรา และมีความสำคัญในช่วงวัยสูงอายุมาก เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะบางลงเรื่อยๆ ทำให้กระดูกพรุน และเปราะหักได้ง่าย

โดยปกติ ร่างกายจะเก็บแคลเซียมไว้ที่กระดูกและฟัน เมื่อใดที่ร่างกายต้องการนำแคลเซียมไปใช้ ก็จะมีการสลายเอาออกมาจากกระดูกและฟันเป็นหลัก การทานแคลเซียม จำเป็นต้องทานอย่างสม่ำเสมอ

สาเหตุที่ร่างกายขาดแคลเซียม มี ดังนี้

- ทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่สม่ำเสมอ ทานบางมื้อ บางช่วงเท่านั้น ส่งผลให้เกิดภาวะความบกพร่องในร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร เช่น การมีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ท้องเสียหรือติดเชื้อในทางเดินอาหาร มะเร็งลำไส้ที่ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลงอย่างมาก

- การขาดวิตามินดี เนื่องจากวิตามินดีเป็นวิตามินที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม หากร่างกายขาดวิตามินดี ก็จะทำให้ขาดแคลเซียมตามไปด้วย

- การรับประทานอาหารจำพวกไขมัน โปรตีน หรืออาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ผักโขม หรือโกโก้ ทำให้ร่างกายลดการดูดซึมเกลือแร่แคลเซียมได้

- ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงในเพศหญิง โดยเฉพาะในวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน ส่งผลให้ร่างกายลดการดูดซึมแคลเซียมลง

- สารคาฟอีนจากกาแฟ นิโคตินจากบุหรี่ และแอลกอฮอล์จากสุราเป็นสารเคมีที่ลดการดูดซึมเกลือแร่แคลเซียมทั้งสิ้น

- ความเครียดส่งผลให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดสูง ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง

อาการเมื่อขาดแคลเซียม

- ทำให้กระดูกอ่อนหรือหักง่าย กระดูกพรุน ฟันโยกหรือหลุด ปวดหลัง หลังโก่งงอ ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งในช่องท้องมากผิดปกติในระหว่างมีประจำเดือนของผู้หญิง

- กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ เกิดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ

- ชาตามปลายมือปลายเท้า หรืออาการเจ็บกล้ามเนื้อ

ดังนั้นเพื่อป้องกันอาการดังกล่าว โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และผู้สูงอายุ ควรรับประทานอาหารที่ให้เกลือแร่แคลเซียมประมาณ 1,000-1,2000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกบาง เปราะ หักง่าย และลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งอีกด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเกี่ยวกับตา ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

ร่างกายที่เสื่อมโทรมไปตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายแปรปรวนไป อวัยวะต่างๆ ก็ทำงานได้

ผู้สูงอายุ ช่วงวัยที่เสี่ยงโรคอ้วน

เรามักพบเห็นว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ สภาพทางกายภาพจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีผมหงอก ฟันแล

นอนไม่หลับ เสี่ยงสุขภาพจิตเสื่อม

การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อย และเป็นอาการหนึ่งที่ผู้สูงอายุส่วนมากมักพบเจอ ซึ่ง

อาการสูญเสียความทรงจำ อาการร้ายๆ ที่ญาติไม่ควรนิ่งนอนใจ

แม้ว่าผู้สูงอายุในครอบครัวของคุณจะผ่านช่วงวัยหนุ่มสาวมาอย่างไร หรือแข็งแรงมากแค่

รู้จักเบาหวานและภาวะเสี่ยง

โดยทั่วไปแล้ว เราจะรู้จักโรคเบาหวานว่าเป็นโรคที่เกิดจากภาวะน้ำต

ทำอย่างไรเมื่อผู้สูงอายุกระดูกหัก

ในวัยสูงอายุ ความสามารถในการมองเห็น การเดิน และการประคองตนเองจะไม่ดีเท่าที่ควร ทำ