โรคที่เมื่ออาการกำเริบแล้วอาจส่งผลถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต เชื่อว่าหลายๆ คนคงนึกถึงโรคหัวใจเป็นอันดับแรกๆ โรคหัวใจ มีหลายโรคแยกย่อยออกไปได้อีก แต่โรคที่มีความเสี่ยงอันตรายมากที่สุด คือโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งผู้สูงอายุหลายท่านก็เผชิญกับโรคนี้อยู่
โรคหัวใจขาดเลือด พบได้ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งคนในเมืองมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าผู้ที่ยากจน มีอาชีพใช้แรงงานและชาวชนบทโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการตีบและแข็งของหลอดเลือดแดงที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เจ็บหน้าอกเป็นครั้งคราว
อาการของโรคหัวใจขาดเลือด มักพบว่ามีอาการต่างๆ ดังนี้
- หากเป็นโรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ จะมีอาการปวดคล้ายมีอะไรกดทับ หรือจุกแน่นกลางหน้าอกหรือยอดอก ซึ่งอาจเจ็บร้าวมาที่ไหล่ซ้าย ถึงคอ ขากรรไกร หลัง หรือแขนขวา
- เมื่อถูกอากาศเย็นๆ ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางมักเป็นไข้ หรือใจเต้นเร็ว ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการของโรคนี้ได้
- อาการเจ็บหน้าอกมักเป็นนาน 2-3 นาที และอาจมีอาการใจสั่น เหนื่อยหอบ เวียนศีรษะ
- จุกแน่นใต้ลิ้นปี่ คล้ายอาหารไม่ย่อย หรือท้องเฟ้อ มักมีอาการเมื่อต้องออกแรงมากๆ หรืออารมณ์โกรธ ตื่นเต้น เสียใจ ตกใจ เครียด เป็นต้น
- หากเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะเจ็บหน้าอกในลักษณะเดียวกัน แต่จะเจ็บและรุนแรงกว่า และทุเลาได้ยาก อาจเหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย หน้ามืด วิงเวียน และเกิดสภาวะช็อกจนหมดสติได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด โดยมากมักเกิดจากความเครียด ขาดการพักผ่อน ทำงานมาก ใช้สมองมากโดยไม่พักผ่อน ภาวะจิตใจที่ขุ่นมัว ดังนั้น การจะป้องกัน และดูแลตนเองให้ห่างไกลโรคหัวใจขาดเลือด หรือป้องกันโรคกำเริบได้นั้น ควรปฏิบัติดังนี้
- งดทำงานหนักหรือต้องใช้แรงมากกว่าปกติ
- เลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด
- ควบคุมอาหาร และน้ำหนัก
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หักโหม
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้อาการกำเริบ เช่น ทำงานหนัก กินอิ่มเกินไป ท้องผูก ดื่มชา กาแฟเป็นประจำ สิ่งที่ทำให้ตื่นเต้นหรือกระทบกระเทือนจิตใจ
- ทำจิตใจให้เบิกบาน และแจ่มใสอยู่ตลอดเวลา
โรคหัวใจขาดเลือด เมื่ออาการกำเริบอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น จึงควรมีแพทย์ประจำ และพกยาไนโตรกลีเซอรีน หรือไอโซซอร์ไบด์ชนิดอมใต้ลิ้นติดตัวไว้เสมอ
ติ่งเนื้อที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง เป็นติ่งที่มีก้านติดกับผิวหนัง ขนาดประมาณ 1-5 มิลลิเมตร
โรคทางตาที่เรามักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งตัวผู้สูงอายุเองก็กลัวที่จะเป็น เพราะอาจส่งผล
โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันโรค ทำให้ผู้สูงอ
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น โรคภัยต่างๆ ก็มักจะเข้ามารุมเร้าให้เศร้าใจ นั่นเพราะระบบต่างๆ ในร่างกายก็เสื่อม
โรคเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความผิดปกติได้กับเนื้อเยื่อแล