เป็นเบาหวานหรือไม่ มีการวินิจฉัยอย่างไร



โรคเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งโรค ที่มักพบในผู้สูงอายุ เนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และการทานอาหารตามใจปาก โดยที่ไม่ควบคุมอาหารที่มีความมัน และน้ำตาลสูง

เมื่อถึงวัยสูงอายุ  หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน คุณจึงควรไปตรวจหาโรคเบาหวาน และโรคต่างๆ ซึ่งเกณฑ์ในการวินิจฉัยเบาหวานของแพทย์ มีดังนี้

1. การวัดระดับกลูโคสในพลาสมาหลังการอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ซึ่งจะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 126มก.% จากการตรวจทั้งสองครั้ง

2. การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคสกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน แต่ระดับพลาสม่ากลูโคสก่อนรับประทานอาหารไม่ถึง 126 มก.% ให้ตรวจโดยการดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เจาะเลือดก่อนดื่ม และ 2 ชั่วโมงหลังดื่ม และจะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับพลาสมากลูโคสที่ 2 ชั่วโมงมากกว่า 200 มก.%ขึ้นไป หากอยู่ระหว่า 140-199มก.%ถือว่าความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง หากต่ำกว่า 140 มก%ถือว่าปกติ

3. การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมาโดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร ใช้ค่ามากกว่า 200 มก.%และมีอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำจึงไม่นิยมหาก หากพบว่าค่ามากกว่า 200 มก.%จะต้องนัดมาเจาะน้ำตาลก่อนอาหาร หรือทำการตรวจ การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส อาจจะตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเบาหวานมากจำเป็นต้องรีบให้การรักษา

4. การใช้ระดับโปรตีนกลัยโคไซเลต หากมีค่ามากกว่า 6.5 ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน

5. ในกรณีที่ค่า HbA1c>6.5 สองครั้งแต่ค่าน้ำตาลก่อนอาหารFBS<126 mg% หรือค่าน้ำตาล FBS>126 แต่ค่า HbA1c<6.5 ทั้งสองกรณีให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน

นอกจากนี้ ยังมีวิธีการตรวจด้วยการตรวจหากลูโคสในปัสสาวะ แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะสามารถผิดพลาดได้ง่าย และในการตรวจหากลูโคสในกระแสเลือด แพทย์จะคำนึงถึงยาที่จะทำให้น้ำตาลสูงขึ้นด้วย

สรุป ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน มีผลการตรวจดังนี้
- มีน้ำตาลอดอาหารอยู่ระหว่าง 100-125 mg/dl
- มีค่าน้ำตาลหลังจากดื่มน้ำตาล 75 กรัม ที่ 2 ชม.อยู่ระหว่าง 140-199 mg/dl
- มีค่าน้ำตาลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5.7-6.4 %

แม้ว่าจะเป็นผลการวินิจฉัยของแพทย์เป็นสิ่งที่เราอาจจะไม่มีความรู้ แต่สิ่งที่เราสามารถป้องกันตนเองจากโรคเบาหวานได้ คือการดูแลตนเองอย่างดี หลีกเลี่ยงปัจจัยของโรค ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก และลดปริมาณแป้ง น้ำตาล และไขมัน ก็จะทำให้เราห่างไกลโรคเบาหวานได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

เล็บบอกโรคได้ มาสำรวจเล็บกันเถอะ

เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ร่างกายส่วนต่างๆ ก็เริ่มเสื่อมโทรมไป รวมถึง

อาการเพ้อ และโรคสมองเสื่อม

บุตรหลานที่มีผู้สูงอายุในบ้าน มักเคยพบเห็นอาการแปลกๆ ของผู้สูงอายุ ท

กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ดูแลและป้องกันได้อย่างไร

อาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง แม้จะไม่ได้พบบ่อยนัก แต่ก็เกิดขึ้นได้ เกิดจากความผิดป

ฟูกที่นอนที่ดี ช่วยเพิ่มคุณภาพในการนอนหลับให้กับผู้สูงอายุ

การจะเลือกฟูกที่นอนให้กับผู้สูงอายุนั้น ควรเป็นที่นอนที่เอื้อต่อการนอนหลับได้อย่า

พลังงานที่ผู้สูงอายุปรารถนา

ความต้องการพลังงานและสารอาหารของคนเรา จะแตกต่างไปตามเพศ วัย และขนาดของร่างกาย เช่น วัยรุ่น มีการใช้พลัง

โรคทางสมอง คืออะไร และจะป้องกันได้อย่างไร

โรคทางสมอง เป็นโรคที่มีความร้ายแรงต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เป็นโรคที่สร้างความทุ