การแต่งกายสำหรับผู้สูงอายุนั้น อาจมองว่า ตนเองอายุมากแล้ว ไม่ต้องพิถีพิถัน หรือใส่ใจอะไรมากก็ได้ จึงละเลยการแต่งกายไป ซึ่งจริงๆ แล้ว การแต่งกายมีความสำคัญในทุกช่วงอายุ ซึ่งก็หมายถึงวัยสูงอายุด้วย
ผู้สูงอายุบางท่าน จะอยู่กับบ้าน และออกไปข้างนอกบ้างเป็นครั้งคราว และบางท่านยังคงต้องออกงานอยู่เป็นประจำ หรือยังอยู่ในวัยทำงานที่ต้องพบปะกับผู้อื่น ในวัยสูงอายุ การแต่งกายช่วยให้คุณยังคงดูดีสมวัยของคุณ และดูสดใส ร่าเริง อ่อนกว่าวัยได้ หากรู้จักแต่งกายให้เหมาะสม
สีชมพู เป็นสีที่เหมาะกับผู้หญิงทุกเพศทุกวัย เป็นสีที่มีความอ่อนหวาน สดใส และดูน่ารัก ซึ่งวัยสูงอายุก็สามารถใส่เสื้อผ้าสีชมพูได้เช่นกัน
เสื้อผ้าที่ผู้สูงอายุทุกท่านควรมีติดตู้ไว้เสมอ นั่นคือ เสื้อสูทซึ่งสามารถใส่ไปทำงานได้ ใส่กันหนาวได้ และยังสามารถใส่ออกงานได้อีกด้วย เรียกได้ว่า เสื้อสูทมีประโยชน์หลากหลายจริงๆ
เสื้อสูทสีดำ หรือสีโทนเข้มที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปนั้น ก็มีความเรียบร้อย และใช้ได้หลายโอกาส แต่หากอยากให้ตนเองดูสดใส ดูดีมากขึ้น ดูทันสมัย อ่อนกว่าวัย และดูมีรสนิยมดี ลองหาเสื้อสูทสีชมพูมาใส่ดูสิคะ
เสื้อสูทสีชมพูนั้น ควรเป็นสีชมพูโทนอ่อน ชมพูพาสเทล หรือชมพูอมม่วงอ่อน และมีลวดลายกราฟฟิก หรือลายเส้น ลายดอก ลายจุด ควรหลีกเลี่ยงลายการ์ตูน และลวดลายที่มีสีสันหลากหลาย อาจมีโบว์ด้านหลังบริเวณเอว เพื่อเพิ่มความน่ารัก เหมาะกับผู้หญิงเรามากขึ้น
ขนาดของเสื้อสูท ควรพอดีตัว ใส่แล้วขยับร่างกายได้สะดวก ไม่หลวมโคร่ง ติดกระดุมหน้าได้ และมีความยาวคลุมได้ครึ่งสะโพก มีกระเป๋าหน้าบริเวณเอวทั้งสองข้างเพื่อให้สามารถเก็บของเล็กๆ น้อยๆ ได้ อาจเลือกใส่เสื้อสูทกับกระโปรงทรงสอบสีดำยาวถึงเข่า หรือยาวคลุมเข่า หรือจะใส่กับกางเกงสแลคขายาวสีดำ ก็ดูดี สดใส และสวยสมวัยได้แล้วล่ะค่ะ
สีชมพู นอกจากจะเหมาะสมกับผู้หญิงในวัยสูงอายุแล้ว ยังช่วยเพิ่มความสดใส ส่งผลต่ออารมณ์ ดูทันสมัย มองยังไงก็ไม่แก่อีกด้วย รับรองว่าใส่สีชมพูเมื่อใด วันนั้นจะอารมณ์ดีไปทั้งวันอย่างแน่นอนเลยค่ะ
ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ร่างกายย่อมอ่อนแอลง และเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น การ
ในวัยสูงอายุ มักเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุต่างๆ แล้ว ย่อมส่งผลต่อร่างกาย ทำให้เกิดโ
อาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ สาเหตุและวิธีรับมือ อาการซึมเศร้า (Depression) เป็นปัญหาทางจิตใ
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อะไรหลายๆ อย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมถอยลง และส่งผล