ผู้ป่วยสมองเสื่อม ควรดูแลอย่างไร



ภาวะสมองเสื่อม เป็นภาวะที่ไม่มีผู้สูงอายุท่านใดอยากประสบพบเจอ เพราะอาจทำให้สูญเสียความทรงจำส่วนต่างๆ ไปได้ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเองโดยตรง แม้การมีความทรงจำที่เลวร้ายจะเป็นสิ่งที่บั่นทอนจิตใจ แต่การต้องสูญเสียความทรงจำ และกลายเป็นคนที่พึ่งพาตนเองไม่ได้ก็สร้างความเจ็บปวดต่อจิตใจยิ่งกว่า ภาวะสมองเสื่อมจึงไม่ได้ส่งผลเพียงร่างกาย แต่ส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้สูงอายุด้วย

อย่างไรก็ตาม บุตรหลานควรเป็นผู้ที่ให้การดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เพราะความรักความเข้าใจจากคนในครอบครัว จะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

หลักในการดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อม
- หากผู้สูงอายุมีอาการหลงลืม หลงผิด มีอารมณ์แปรปรวน พฤติกรรมเปลี่ยนไป เป็นต้น ควรพาไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาว่าเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่
- หากพบว่าเป็นโรคสมองเสื่อม ต้องหาสาเหตุว่ามีอาการสมองเสื่อมเนื่องด้วยสาเหตุใด เช่น เป็นโรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น เนื่องจากต้องรักษาตามอาการของโรคที่เป็นด้วย จึงจะช่วยชะลออาการ หรือทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
- พฤติกรรมหลายๆ อย่าง ไม่สามารถให้ยารักษาได้ เพราะอาจเกิดจากความเจ็บป่วย หรือการตอบสนองต่อจิตใจ ซึ่งญาติควรให้ความเข้าใจ ไม่หงุดหงิด อารมณ์เสีย มีความใจเย็น และเข้าใจในความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวของผู้สูงอายุของท่าน
- ดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้อยู่ตามลำพัง เพราะอาจคิดทำร้ายตนเอง หรือได้รับอันตรายจากความหลงผิด และอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้
- หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการทางสมอง เช่น ความเครียด สภาพอากาศที่อึดอัด ร้อนอบอ้าว ไม่ถ่ายเท ความสับสนวุ่นวายจากสังคม เป็นต้น
- หมั่นให้ผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อมได้เคลื่อนไหวร่างกาย และออกไปสัมผัสอากาศภายนอกบ้านเสมอๆ
- ฝึกให้ผู้สูงอายุได้ใช้สมอง เช่น เขียนหนังสือ อ่านหนังสือ เล่นเกม ชวนพูดคุย ถามเพื่อให้ตอบ เป็นต้น เพื่อชะลออาการสมองเสื่อม และเป็นการฝึกความจำ

แม้ว่าการดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อมจะไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นเพียงการชะลออาการสมองเสื่อม ไม่ได้เป็นการรักษาให้หายขาดได้ แต่การดูแลจากคนในครอบครัวก็เป็นสิ่งที่สำคัญต่ออาการป่วย และสภาพจิตใจของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก


บทความที่เกี่ยวข้อง

ต้อหินเรื้อรังในผู้สูงอายุ

ต้อหิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ต้อหินเฉียบพลัน และต้อหินเรื้อรัง ต้อหินเรื

ผู้สูงอายุที่อ่อนแรง ดูแลตนเองอย่างไร

สุขภาพร่างกายของคนเราจะดีได้นั้น มีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างหลักๆ คือ ระบบร่างกายที่ทำง

กฎ 5 ข้อ ป้องกันกระดูกพรุนในผู้สูงวัย

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นทุกวัน กระดูก ย่อมผุกร่อน และบางลงไปตามกาลเวลา ในวัยสูงอายุ จึงไม

อาการปวดศีรษะรุนแรง บั่นทอนจิตใจผู้สูงอายุ

เชื่อว่าทุกคนคงเคยผ่านการมีอาการปวดศีรษะมาก่อน เพราะอาการปวดศีรษะ มั

โรคข้อรูมาตอยด์ฝันร้ายในวัยสูงอายุ

โรคข้อรูมาตอยด์ แม้จะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็พบได้ในผู้ที่มีญาติสายตรงเ

7 สารอาหารสำคัญ สำหรับคนสูงวัย

สำหรับผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ต้องใส่ใจในเรื่องโภชนาการเป็นสำคัญ นอกจากจะทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกา