โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) รู้ทันป้องกันได้เพื่อชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ
ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม :
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของโลก และเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาต โดยเฉพาะในผู้สูงอายุซึ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และการใช้ชีวิตประจำวันที่ขาดการออกกำลังกาย
ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง :
1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองตีบหรืออุดตัน ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยเสี่ยง เช่น ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ และโรคประจำตัว
2. หลอดเลือดสมองแตก
มักเกิดจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการควบคุม อาจนำไปสู่ภาวะสมองขาดเลือดและส่งผลร้ายแรงอย่างเฉียบพลัน
สัญญาณเตือนที่ต้องรู้ (หลักการ BEFAST) :
B (Balance) : การทรงตัวผิดปกติ
E (Eye) : การมองเห็นเปลี่ยนแปลง
F (Face) : หน้าเบี้ยว มุมปากตก
A (Arm) : แขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน
S (Speech) : การพูดผิดปกติ เช่น พูดไม่ชัด
T (Time) : เวลารีบไปโรงพยาบาลทันที โทร 1669
การรับมืออย่างรวดเร็วอาจช่วยลดความรุนแรงของโรคและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยได้
การรักษา เวลาเป็นสิ่งสำคัญ :
- ยาสลายลิ่มเลือดภายใน 4.5 ชั่วโมงแรกช่วยเพิ่มโอกาสการฟื้นตัว
- การดูแลในหอผู้ป่วยเฉพาะทาง
- การผ่าตัดในกรณีสมองบวมอย่างรุนแรง
ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง :
1. ควบคุมโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตและเบาหวาน
2. รับประทานอาหารสุขภาพ ลดไขมันอิ่มตัวและโซเดียม
3. งดสูบบุหรี่และจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
4. กกำลังกายสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
กำลังใจและการฟื้นฟูสำคัญที่สุด :
สำหรับผู้สูงอายุที่เคยป่วย การทำกายภาพบำบัดและกำลังใจจากครอบครัวช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป : โรคหลอดเลือดสมองอาจดูน่ากลัว แต่หากรู้ทัน สังเกตอาการ และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต คุณสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้ เพื่อชีวิตที่แข็งแรงและมีความสุขในวัยเกษียณ
เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ผิวหนังจะเริ่มเหี่ยวลง และอาจมีอาการคันมาก มีผื่นขึ
โรคไต เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุ ซึ่งเมื่อเป็นแล้ว ส่งผลต่อการใช้ชีวิต และสร้า
กระดูกพรุน เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เนื่องจากมวลกระดูกลดน้อยลง และสามารถเกิ
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุเพศชาย และสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายในการปัสสา
การเปลี่ยนแปลงในช่วงสูงวัย เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ด้อยลง ทั้งการเปลี่ยนแปลงภายน
เป็นที่ทราบกันดีว่า แม้จะอยู่ในช่วงวัยสูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว ก็ควรออกกำลังกายอย