อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าสู่ช่วงสูงวัย

ความจริงแล้ว อายุที่เพิ่มมากขึ้นไปจนถึง 40 ขึ้นไป คุณก็เข้าสู่ช่วงสูงวัยแล้ว และเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป คุณก็คือผู้สูงอายุไปโดยปริยาย

หลายคนดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี จึงยังมีสุขภาพที่แข็งแรง และมีหน้าตาที่อ่อนกว่าวัย แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ วัยที่ร่างกายมีแต่เสื่อมถอยลง ร่างกายก็ย่อมเสื่อมถอยตามไปด้วย

อาการที่บ่งบอกว่าคุณเข้าสู่ช่วงสูงวัย และต้องดูแลตนเองเป็นสองเท่าจากที่เคยดูแลมา มีดังนี้


เริ่มมีอาการหน้ามืดบ่อย
อาการดังกล่าว เกิดจากการที่ร่างกายทำงานได้ลดลง เลือดสูบฉีดไม่ดี รวมถึงอาจเป็นเรื่องของความดันด้วย หากคุณมีอาการดังกล่าว ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ไม่ทำสิ่งใดที่ต้องลุกนั่งอย่างรวดเร็ว และค่อยๆ ลุกนั่งให้ช้าลง เพื่อป้องกันอาการหน้ามืด และอาจล้มจนเป็นอันตรายได้


ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
การลุกนั่ง หรือการเคลื่อนไหวของคุณจะเป็นไปได้ยากขึ้น รวมถึงปวดเมื่อยตามเนื้อตัวได้ง่าย เนื่องจากกล้ามเนื้อของคุณเริ่มลดลง และมีไขมันสะสมมากขึ้น สิ่งที่คุณทำได้ คือระวังอย่าให้อ้วน ซึ่งอาจทำให้ปวดข้อเข่าเรื้อรังได้ และหมั่นออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ เท่าที่ทำได้ ไม่ควรนั่งๆ นอนๆ หรืออยู่กับที่เฉยๆ นานๆ เพราะนอกจากจะทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้ช้าลงแล้ว ยังทำให้เป็นโรคอ้วน หรือเป็นโรคเบาหวานได้อีกด้วย


เหนื่อยง่าย
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ระบบในร่างกายก็ทำงานได้ไม่ดีเหมือนเก่า ส่งผลให้คุณเหนื่อยง่าย เพราะร่างกายคุณอ่อนแอลงโดยอัตโนมัติ เคลื่อนไหวนิดหน่อยเลือดก็สูบฉีดแรง ทำให้ใจเต้นแรง และรู้สึกเหนื่อยหอบ คุณจึงควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก เคลื่อนไหวมากเกินไป และเกินกำลังของคุณ ยิ่งหากคุณมีโรคประจำตัวด้วยแล้ว ยิ่งต้องระวังมากขึ้น และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด


จำอะไรไม่ค่อยได้
อย่าแปลกใจถ้าคุณจะเริ่มจำอะไรไม่ค่อยได้ ทั้งที่น่าจะจำได้อยู่ ถึงแม้ว่าคุณจะเคยเป็นคนที่มีความจำดีเลิศก็ตาม เพราะว่าคุณกำลังเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุอย่างเต็มตัวนั่นเอง แต่ไม่ต้องวิตกไปนะคะ ถ้าคุณหมั่นฝึกท่องจำ หรือเล่นเกมฝึกสมองบ่อยๆ ก็จะช่วยให้ความจำคุณดีอยู่ และช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมได้อีกด้วย

หากมีอาการดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แสดงว่าคุณต้องเริ่มเอาจริงเอาจังในการดูแลตนเองมากขึ้นแล้วนะคะ จะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง และมีอายุที่ยืนยาว


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้สูงอายุ กับปัญหาการใช้ยา

ในช่วงวัยสูงอายุ ผู้สูงอายุมักพบว่าตนเองมีโรคประจำตัว หรือมักเจ็บ

สิ่งที่ผู้สูงอายุ มักเข้าใจผิด ในการใช้ชีวิต

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ หรือมีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป โดยเ

ดูแลฟันปลอมอย่างไร ให้ยืดอายุการใช้งาน

ฟันปลอม นับเป็นหนึ่งในไอเท็มเสริมของผู้สูงอายุ ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก ฟันปลอมมี

3 สิ่งที่ควรเตรียมไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุ

การดูแลผู้สูงอายุ สิ่งสำคัญที่สุดที่เราควรใส่ใจ คงหนีไม่พ้นเรื่องของความปลอดภัย เน

เราควรจะเลิกขับรถแล้วหรือยัง?

เมื่อแก่ตัวลงเป็นธรรมดาที่อยากพึ่งตัวเองให้ได้เหมือนเดิม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีที่

ความสำคัญของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ มักมองว่าตนเองด้อยค่า ต้องพึ่งพาผู้อื่น และร่างกายก็เสื่อม