ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้น้อย ทำอย่างไรดี


ปัญหาผู้สูงอายุไม่ค่อยรับประทานอาหาร หรือรับประทานได้น้อย เป็นอีกหนึ่งปัญหาหนึ่งที่ญาติมีความกังวลใจ กลับว่าจะเจ็บป่วย หรือขาดสารอาหารได้

สาเหตุของปัญหา
ปัญหาภาวะความผิดปกติในการรับประทานอาหารเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- ปัญหาสุขภาพฟัน
- ภาวะกลืนลำบาก
- ความอยากอาหารน้อยลง
- น้ำหนักลด
- ผลข้างเคียงจากยาทำให้เบื่ออาหาร
- ภาวะซึมเศร้าหรือหลงลืมทำให้ไม่ดูแลโภชนาการตนเอง
- โรคเรื้อรังต่างๆ ที่ส่งผลต่อความอยากอาหาร
- โรคบางโรคที่ส่งผลต่อการกินอาหาร

สาเหตุเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา เช่น การติดเชื้อ ภาวะกระดูกพรุน กล้ามเนื้อลีบลง และแขนขาอ่อนแรง

การป้องกันและการดูแลผู้สูงอายุ
การป้องกัน และการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาดังกล่าว สามารถทำได้ดังนี้
1. ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แก้ไขได้
2. ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ
3. จัดมื้ออาหารให้รับประทานร่วมกับผู้อื่น เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง
4. จัดเตรียมอาหารที่คำเล็ก ย่อยง่าย และมีความหลากหลาย
5. ปรึกษาแพทย์เพื่อทบทวนยาที่อาจทำให้เบื่ออาหารได้
6. ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารเสริมทางการแพทย์ประเภทชงหรือพร้อมดื่มเพื่อเพิ่มพลังงาน

หากผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้น้อยมาก หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก หรือร่างกาย ทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาต่อไป
 


บทความที่เกี่ยวข้อง

การป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน

ผู้สูงอายุ มักมีปัญหาต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิต อันเนื่องมาจากสภาพร่างกาย

อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าสู่ช่วงสูงวัย

ความจริงแล้ว อายุที่เพิ่มมากขึ้นไปจนถึง 40 ขึ้นไป คุณก็เข้าสู่ช่วงสูงวัยแล้ว และเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป คุณก็

สิ่งที่ผู้สูงอายุ มักเข้าใจผิด ในการใช้ชีวิต

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ หรือมีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป โดยเ

การดูแลตนเองในวัยหมดประจำเดือน

เมื่อผู้หญิงเราก้าวเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือที่เรามักเรียกว่า “วัยทอง” นั้น ร

ผู้สูงอายุ ช่วงวัยอันทรงคุณค่าต่อสังคม

เมื่อต้องเข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุแทบทุกคนมักรู้สึกว่าตนเองกำลังถอยหลังไปเ

ดูแลฟันปลอมอย่างไร ให้ยืดอายุการใช้งาน

ฟันปลอม นับเป็นหนึ่งในไอเท็มเสริมของผู้สูงอายุ ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก ฟันปลอมมี