อาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ



ผู้สูงอายุ ย่อมมีสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยไปตามกาลเวลาและอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เจ็บป่วยและมีปัญหาสุขภาพ ซึ่งต้องเอาใจใส่ดูแล วันนี้เรามาดูว่าอาการใดบ้างที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ดูแลควรใส่ใจ เข้าใจ และดูแลอย่างใกล้ชิด

- กระดูกหักง่าย เนื่องจากกระดูกเสื่อม บาง และพรุน โดยเฉพาะสะโพก ต้นขา ข้อมือ และกระดูกสันหลังจึงควรให้ผู้สูงอายุทานปลาตัวเล็ก และดื่มนม
- หลงลืมบ่อย เนื่องจากเซลล์สมองลดลง และเซลล์ตาย จึงควรให้มีกิจกรรมทำ และไม่แยกตัวอยู่คนเดียว
- สายตาไม่ดี เกิดจากการที่เลนส์ตาแข็งตัว ยืดหยุ่นไม่ดี ทำให้เห็นภาพไม่ชัด
- หูตึง เกิดจากประสารทหูเสื่อม ซึ่งควรพบแพทย์ และหากเป็นมาก อาจต้องใช้เครื่องช่วยฟังช่วย เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- ฟันไม่ดี ควรให้ทานอาหารอ่อน และอาจต้องทานวิตามินเสริม เนื่องจากอาจเกิดภาวะขาดอาหารได้
- หัวใจและหลอดเลือดเสื่อม ทำให้หัวใจทำงานหนัก เหนื่อยง่าย จึงควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยให้อ้วน และหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ กะทิ อาหารรสหวาน และหันมาทานข้าวซ้อมมือ ปลา ถั่วต่างๆ ผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง รวมถึงดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
- ปัญหาด้านอารมณ์ ผู้สูงอายุจะมีความโกรธ เกลียด กังวล และหงุดหงิดง่าย ซึ่งในขณะที่มีสภาวะอารมณ์ดังกล่าว ต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนออกมา ทำให้มีอาการใจสั่น น้ำตาลสูงขึ้น และทำให้เป็นโรคกระเพาะลำไส้ได้ หรือที่เรารู้จักกันว่า เครียดลงกระเพาะ ซึ่งการแก้ไข ผู้ดูแลควรให้ความรัก ความเข้าใจ เคารพนับถือ และแสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุมีความสำคัญต่อครอบครัวมากเพียงใด จะทำให้สภาวะทางอารมณ์ของผู้สูงอายุคงที่ขึ้นได้
- หูรูดเสื่อม ท่อปัสสาวะเสื่อม ซึ่งอาจต้องพบแพทย์ และรับการรักษาต่อไป
- เป็นลมบ่อย ควรนอนหมอนสูงเล็กน้อย และค่อยๆ ลุก ให้ร่างกายได้ปรับตัว นอกจากนี้การออกกำลังกายก็ช่วยได้เช่นกัน
- เรอบ่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ควรงดอาหารที่มีแก๊ส และย่อยยาก
- ท้องผูก ควรทานอาหารที่มีกากใยสูง ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย และดื่มน้ำสะอาดมากๆ
- อาจเป็นเบาหวาน ซึ่งต้องควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารหวาน และทำจิตใจให้ผ่องใส

อาการเหล่านี้ สืบเนื่องมาจากการใช้ชีวิตมาตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งหากดูแลตนเองเป็นอย่างดีมาตลอด อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ยาก แต่เวลาก็ไม่สามารถย้อนไปแก้ไขได้ การดูแลตนเองอย่างดี ณ ปัจจุบัน จึงเป็นอีกหนึ่งทางป้องกันไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้น


บทความที่เกี่ยวข้อง

“หกล้ม” เสี่ยงอันตรายกับ “ภาวะเลือดออกในสมอง”

ในวัยสูงอายุ การเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ช้าลง และยากลำบากขึ้น การมองเห็นก็ไม่ชัด

วันว่างแบบนี้ มาหากิจกรรมทำกันดีกว่า

วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีเวลามาก ไม่ต้องออกไปทำงาน หรือทำอะไรมากมาย ซึ่งเวลาว่างเหล่านี

รู้จักความต้องการพลังงานของผู้สูงอายุ เพื่อการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

ร่างกายของคนเรา มีความต้องการพลังงานและสารอาหารที่แตกต่างไปตามเพศ วัย และขนาดของร่

โรคเบื่ออาหารกับผู้สูงอายุ

การที่ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร คงเป็นอาการปกติที่คุณสามารถพบเห็นได้ในญาติผู้ใหญ่ที่บ้านของคุณ แต่หากปล่อ

งานฝีมือ ฝึกทักษะ สร้างความภูมิใจให้ผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่สภาพร่างกายไม่สามารถใช้งานได้ดั่งใจเหมือนวัยหนุ่มสาว จึงส่ง

9 คำแนะนำ สำหรับผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยเลข 4 ปลายๆ คุณควรที่จะใส่ใจตนเองมากขึ้น เพราะร่า