2 สิ่งที่ควรระมัดระวังในการดำเนินชีวิตสำหรับผู้สูงวัย



เข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุแล้ว สุขภาพอะไรต่างๆ นานา ก็ย่อมที่จะเสื่อมโทรมไปตามสภาพ สายตาก็เริ่มมองเห็นได้แย่ลง เคลื่อนไหวร่างกายได้ช้าลง เหนื่อยง่าย หูตึง ระบบต่างๆ ในร่างกายก็ไม่ค่อยดี

สิ่งเหล่านี้ จึงทำให้คุณต้องระมัดระวังในการดำเนินชีวิตมากขึ้น เพราะหากปล่อยปะละเลย อาจเป็นอันตราย และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้

2 สิ่งที่คุณควรระมัดระวังเป็นพิเศษ มีดังนี้

1. การหกล้ม
ปัจจัยที่ทำให้คุณอาจหกล้มได้ คือ
- ปัญหาทางด้านการมองเห็นที่แย่ลง
- การเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่คล่องแคล่ว และไม่ทันใจ
- อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เหมือนจะเป็นลม
- โรคข้อเสื่อม และความเจ็บปวดจากโรค
เมื่อเกิดการหกล้ม อาจส่งผลให้เกิดแผล ฟกช้ำ หรือร้ายแรงไปจนถึงกระดูกหัก ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือน จนถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน

2. การทานยา
ยา กับผู้สูงอายุ เป็นของคู่กันมาช้านาน ซึ่งยาก็มีทั้งประโยชน์และโทษได้เช่นกัน หากรับประทานอย่างไม่ถูกต้อง หรือผิดชนิด
ดังนั้น เรื่องยาเป็นสิ่งที่คุณควรใส่ใจมาก ต้องทานให้ถูกต้อง และขนาดตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด ซึ่งบางครั้งเป็นเรื่องยากสำหรับผู้สูงอายุบางท่าน จึงควรมีคนคอยดูแลเรื่องยาให้กับคุณอีกทีด้วย ซึ่งอาจช่วยดังนี้
- จัดยาไว้ให้เป็นชุด และตามเวลา เป็นวัน
- จัดยาให้ในเวลาที่ผู้สูงอายุจะต้องทาน
- คอยไถ่ถามว่าทานยาหรือยัง ทานยาใดไปบ้าง
- เขียนหน้าซองใหม่ด้วยตัวใหญ่และชัดเจนว่าเป็นยาอะไร และทานตอนไหนบ้าง

2 สิ่งนี้ เป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุควรใส่ใจ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้สูงอายุได้ ซึ่งตัวลูกหลานเองก็ควรเข้ามาช่วยดูแลด้วย จึงจะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่ออายุมากขึ้น ระบบร่างกายจะเป็นเช่นใดบ้าง

ผู้สูงอายุหลายท่าน หรือวัยกลางคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ช่วงสูงอายุ

ผู้สูงอายุ ช่วงวัยอันทรงคุณค่าต่อสังคม

เมื่อต้องเข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุแทบทุกคนมักรู้สึกว่าตนเองกำลังถอยหลังไปเ

สิ่งที่ควรมี ในบ้านที่มีผู้สูงอายุ

หากในบ้านของคุณมีญาติผู้ใหญ่ที่เป็นผู้สูงอายุ คุณควรเตรียมทุกอย่างให้พร้อม เพื่ออำนวยความสะดวก และเพิ

โรคเบื่ออาหารกับผู้สูงอายุ

การที่ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร คงเป็นอาการปกติที่คุณสามารถพบเห็นได้ในญาติผู้ใหญ่ที่บ้านของคุณ แต่หากปล่อ

หลักธรรมประจำใจในการใช้ชีวิตวัยสูงอายุอย่างมีความสุข

ในวัยสูงอายุ ผ่านประสบการณ์มามาก ย่อมต้องกลัวที่ลูกหลานจะเกิดซ้ำรอยความผิดพลาดของ

กิจกรรมระหว่างผู้สูงอายุกับลูกหลานเพื่อกระชับความสัมพันธ์

โดยส่วนมากแล้ว ระหว่างผู้สูงอายุกับลูกหลานนั้น มักจะมีช่องว่างระหว่างวัยเกิดขึ้น เ