การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคไขมันในเลือดสูง



โรคไขมันในเลือดสูง คือ โรคที่มีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าค่าที่ถูกกำหนดขึ้น ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย

ความเสี่ยงของโรค
- ผู้ชายที่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป
- มีประวัติพ่อหรือพี่น้องผู้ชายเป็นโรคหัวใจขาดเลือด (กล้ามเนื้อหัวใจตาย) ที่อายุน้อยกว่า 55 ปี หรือมีแม่หรือญาติผู้หญิงเป็นโรคหัวใจขาดเลือดที่อายุน้อยกว่า 65 ปี
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตร-ปรอท
- สูบบุหรี่
- มีไขมัน HDL ต่ำกว่า 40 mg/dl

การรักษาโรคไขมันในเลือดสูง
การรักษาโรคไขมันในเลือดสูง มีดังนี้
1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา
- ควบคุมอาหาร ลดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ต่างๆ เนื้อสัตว์ติดมัน กุ้ง หอย ปลาหมึก ไข่ปลา เป็นต้น ลดอาหารประเภทแป้งขัดสี เช่น ขนมปังชนิดต่างๆ ปาท่องโก๋ โดนัท เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นสปาเกตตี มักกะโรนี บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้นออกกำลังกายและลดน้ำหนัก
2. การรักษาโดยการใช้ยา
โดยยาที่ใช้แบ่งไปตามกลุ่มอาการต่างๆ ของโรค และไม่ควรซื้อยารับประทานเองเด็ดขาด

การดูแลตนเอง
- จำกัดอาหารไขมันให้น้อยที่สุดหรือดังกล่าวแล้ว หลีกเลี่ยงอาหารทอดและใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันจากสัตว์
- จำกัดอาหารแป้งและน้ำตาลเพื่อลดโอกาสเกิดโรคเบาหวาน
- กินอาหารจืดเพื่อลดโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมักพบเกิดร่วมกับโรคไขมันในเลือดสูง
- เลิกบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่เพิ่มการจับตัวของไขมันในหลอดเลือด เพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดแข็ง
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกินรวมถึงออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- กินยาลดไขมันตามแพทย์แนะนำอย่าขาดยา
- พบแพทย์ตามนัดเสมอ

เมื่อเป็นโรคไขมันในเลือดสูง ก็อย่าลืมใส่ใจเรื่องการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมคอเลสเตอรอล และหมั่นออกกำลังกายเสมอๆ ด้วยนะคะ เพราะเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญค่ะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะขี้หูอุดตันในผู้สูงอายุ

แม้ว่าภาวะขี้หูอุดตันจะพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่ก็สามารถพบได้ในผู้สูง

อาการปวดศีรษะรุนแรง บั่นทอนจิตใจผู้สูงอายุ

เชื่อว่าทุกคนคงเคยผ่านการมีอาการปวดศีรษะมาก่อน เพราะอาการปวดศีรษะ มั

โรคเกี่ยวกับตา ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

ร่างกายที่เสื่อมโทรมไปตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายแปรปรวนไป อวัยวะต่างๆ ก็ทำงานได้

ผู้สูงอายุ ทำอย่างไร เมื่อนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ เกิดขึ้นอาการทางสมอง ซึ่งญาติไม่ควรปล่อย

การดูแลสายตาหลังการผ่าตัดต้อกระจก

โรคตา เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้ในผู้สูงอายุทุกคน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสายตาสั้น สายตายาว และโรคที่เกิดขึ้นก

6 ข้อปฏิบัติ ป้องกันและแก้ไขโรคกระดูกพรุน

กระดูกพรุน เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เนื่องจากมวลกระดูกลดน้อยลง และสามารถเกิ