การตรวจปัสสาวะเพื่อการวินิจฉัยโรค



ถ้าพูดถึงการตรวจโรค การตรวจปัสสาวะ เป็นวิธีการตรวจโรคที่มีประโยชน์มากที่สุดวิธีหนึ่ง ช่วยให้รู้โรคเกี่ยวกับอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น และยังวินิจฉัยโรคอื่นๆ ได้อีก เช่น เบาหวาน สารเสพติด และภาวะตั้งครรภ์

ลักษณะของปัสสาวะ
- เป็นภาวะปลอดเชื้อ แต่เมื่อขับออกจากร่างกายโดยสัมผัสสารคัดหลั่ง เยื่อเมือกของอวัยวะเพศ หรือบริเวณก้นแล้ว จะเกิดการปนเปื้อนได้
- ปริมาณปัสสาวะต่อวันจะขึ้นอยู่กับการดื่มน้ำ สภาพอากาศ การทานอาหาร การออกกำลังกาย อาชีพ กิจวัตรประจำวัน สุขภาพ และโรคประจำตัว ซึ่งโดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ 1-2 ลิตร
- ส่วนประกอบหลักของปัสสาวะคือน้ำถึง 95 % นอกจากนั้นเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นสายปลายทางของโปรตีน ที่เรียกว่า ยูเรีย เกลือแร่ สารครีอะตินีน และสารเคมีต่างๆ อีกมากมาย
- หากเป็นเบาหวาน จะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ ซึ่งปกติจะไม่มี
- ปัสสาวะปกติจะไม่มีโปรตีน และไม่มีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเซลล์หรือเนื้อเยื่อต่างๆ
- ปัสสาวะปกติจะใส ไม่ขุ่น หากขุ่นจะมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- สีปกติของปัสสาวะจะเป็นสีเหลืองอ่อน และอาจเข้มขึ้นหากดื่มน้ำน้อย และไม่มีกลิ่นหรือกลิ่นแอมโมเนียจางๆ

การดื่มปัสสาวะ
เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมายาวนานว่าการดื่มปัสสาวะ เป็นการรักษาโรคได้หรือไม่ ปกติแล้ว ปัสสาวะใช้ดื่มได้ แต่ต้องคำนึงถึงความสะอาด และการปนเปื้อนต่างๆ ซึ่งปัสสาวะของบางคนจะมีสารภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ทำให้มีความเชื่อในบางกลุ่มว่าสามารถรักษาโรคได้ แต่ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่พบว่าการใช้ปัสสาวะสามารถรักษาโรคให้หายได้

ประโยชน์ของการตรวจปัสสาวะ
การตรวจปัสสาวะ สามารถใช้เป็นการตรวจเพื่อคัดกรอง วินิจฉัย และติดตามผลการรักษาโรคได้ การตรวจปัสสาวะไม่มีโทษ และตรวจซ้ำได้เสมอ ค่าใช้จ่ายต่ำ และตรวจได้ง่าย ได้ผลที่รวดเร็ว การตรวจปัสสาวะจึงเป็นการตรวจสุขภาพพื้นฐานที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

แม้ว่าคุณจะเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรงใดๆ แต่ก็สามารถตรวจหาความผิดปกติต่างๆ จากการตรวจปัสสาวะได้เช่นกัน ซึ่งช่วยให้พบความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น และนำไปสู่โรคร้ายต่อไปได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลดความดันโลหิต ด้วยยาไฮดราลาซีน

โรคความดันโลหิตสูง เป็นอีกหนึ่งโรคที่มักพบได้ในผู้สูงอายุเกิดเนื่

โรคข้อรูมาตอยด์ฝันร้ายในวัยสูงอายุ

โรคข้อรูมาตอยด์ แม้จะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็พบได้ในผู้ที่มีญาติสายตรงเ

เช็กด่วน ขี้ลืมแบบไหน เข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์

คนเราเมื่อมีสิ่งต้องคิดต้องทำเยอะๆ มักหลงลืมกันบ้าง เป็นเรื่องปกติ แต่การหลงลืมมีหลายรูปแบบ และพบได้บ

ประโยชน์สำคัญของแคลเซียมต่อผู้สูงอายุ

แคลเซียม (Calcium) เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอาย

ข้อเข่าเสื่อม ดูแลรักษาตนเองได้อย่างไรบ้าง

ในผู้สูงอายุ เรามักพบปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้บ่อยๆ เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยล

ภาวะสมองฝ่อ เกิดกับผู้สูงอายุทุกคนหรือไม่ และจะป้องกันอย่างไร

หากพูดว่า “สมองฝ่อ” เรามักสงสัยว่า เมื่ออายุของเราเพิ่มมากขึ้น จะสามารถเป็นโรคสม