ต้อกระจก และต้อหิน สองโรคนี้ต่างกันอย่างไร?



โรคทางตาที่เรามักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งตัวผู้สูงอายุเองก็กลัวที่จะเป็น เพราะอาจส่งผลต่อการมองเห็น ไปจนถึงขั้นตาบอดได้ นั่นคือ โรคต้อกระจก และต้อหิน

1. ต้อกระจก
ต้อกระจก เป็นภาวะที่เลนส์ตาเกิดการขุ่น ทำให้แสงผ่านเข้าตาได้น้อยลง การมองเห็นจึงไม่ชัดตามไปด้วย ซึ่งส่วนมากเกิดจากปัจจัยทางด้านอายุ และอาจมีปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น เป็นโรคเบาหวาน

อาการของต้อกระจก
อาการของโรค ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และขึ้นอยู่กับว่าเลนส์ตาขุ่นมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาการที่พบ เช่น มองเห็นสีต่างๆ ดูทึมๆ ไม่สดใส มองเห็นไม่ชัดเหมือนที่เคย แม้ในที่ที่มีแสงเท่าเดิมมองเห็นภาพซ้อนสู้แสงไม่ได้ หรือมองไม่เห็นเมื่อมีแสงจ้าขับรถแล้วมองแสงไฟสะท้อนจากรถฝั่งตรงข้ามไม่ได้

การรักษา
ทำได้โดยการสลายต้อกระจกด้วยอัลตราซาวนด์แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ต้องเย็บแผล จึงฟื้นตัวได้เร็ว แต่ในบางรายก็ต้องทำการผ่าตัดแบบที่ต้องเปิดแผลใหญ่ ซึ่งได้ผลดีเช่นกัน แต้ต้องใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่าเท่านั้นเอง

2. ต้อหิน
ต้อหินเกิดจากการถูกทำลายของเส้นประสาทตา ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความดันในลูกตาสูง เป็นโรคที่มีความรุนแรง และทำให้ตาบอดได้อย่างช้าๆ

ปัจจัยในการเกิดโรคต้อหิน เกิดจากกรรมพันธุ์ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ใช้ยาประเภทสเตียรอยด์ต่อเนื่องกัน เป็นต้น

อาการของโรคต้อหิน
โรคนี้มักเป็นไปอย่างช้าๆ ผู้ที่เป็นจึงไม่ทราบว่าตนเองเป็น เริ่มจากการมองเห็นที่ลดลง จนบอดสนิทในผู้ที่เป็นระยะสุดท้าย บางรายอาจมีอาการปวดตาเล็กน้อย ซึ่งเมื่อทานยาแก้ปวดก็หาย จึงไม่คิดว่าเป็นอะไร และในบางรายอาจมีความดันลูกตาสูงเฉียบพลัน ทำให้ปวดศีรษะรุนแรง ตาแดง อาเจียน มองเห็นไฟเป็นดวงๆ กระจัดกระจาย เป็นต้น

การรักษา
การรักษาต้อหิน ทำได้ด้วยการหยอดตาเพื่อรักษาความสมดุลของความดันตา ทำเลเซอร์ หรือผ่าตัด ซึ่งขึ้นอยู่กับการรักษาของแพทย์ แต่เป็นการรักษาเพื่อคงสภาพเท่านั้น

หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับตา แม้ว่าจะไม่ร้ายแรงถึงขั้นเป็นต้อกระจก หรือต้อหิน แต่ก็ย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตให้ยากลำบากขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้น ควรใส่ใจความผิดปกติที่เกิดขึ้น และหมั่นพบจักษุแพทย์เป็นประจำจะดีที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่องคลอดอักเสบ เกิดขึ้นได้อย่างไร และควรทำอย่างไรดี

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เกิดขึ้นจากการที่ผู้หญิงมีการอักเสบจากการติ

การป้องกันการติดเชื้อ และโรคประจำตัวในผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ โรคภัยต่างๆ ก็มักจะเข้ามารุมเร้า และเกิดอาการเจ็บป่

9 โรคในผู้สูงวัย ต้องใส่ใจก่อนจะเป็น

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น มักมีโรคภัยต่างๆ ถามหาอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะทำ

เมื่อผู้สูงอายุต้องเผชิญปัญหาท้องผูก

การขับถ่าย เป็นสุขอนามัยพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน และมีความจำเป็นในการดำรงชีวิต มนุษย์เร

ระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่องของผู้สูงอายุ

ระบบในร่างกายของคนเรานั้นมีด้วยกันมากมายหลายระบบ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงสูงอายุ ระบบต

อาการสับสนและสูญเสียความทรงจำในผู้สูงอายุ

ในวัยสูงอายุ เรามักพบว่าเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เนื่องจากสิ่งที่เราสะสมเอาไว้ในร่างกา