การแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ



ในวัยสูงอายุ เป็นที่ทราบกันดีว่า สุขภาพร่างกาย จะเสื่อมถอยลง ส่งผลต่อระบบร่างกายต่างๆ ทั้งภายนอกและภายใน ระบบภายในที่เสื่อมถอยลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น การย่อยอาหาร การขับถ่าย การเผาผลาญพลังงาน ระบบสมอง การสูบฉีดของเส้นเลือด เป็นต้น ระบบภายนอกที่เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น ผิวหนังเหี่ยวย่น ผมเปลี่ยนเป็นสีขาว หูไม่ค่อยได้ยิน สายตาเริ่มฝ้าฟาง ฟันและเหงือกอ่อนแอ เป็นต้น

ปัญหาภายในช่องปากของผู้สูงอายุที่พบได้บ่อย คือ ฟันผุและรากฟันผุ โรคเหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบ ฟันสึก น้ำลายแห้ง การสูญเสียฟันและปัญหาจากการใส่ฟันปลอม มีแผลหรือรอยโรคมะเร็งในช่องปาก และปัญหาเรื่องระบบการบดเคี้ยว ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องมาพบทันตแพทย์ การดูแลสุขภาพช่องปาก และการแก้ปัญหาสามารถทำได้ดังนี้

การรักษาความสะอาดฟันและช่องปาก
ในการแปรงฟัน ควรเลือกใช้แปรงที่มีด้ามจับได้ถนัดมือ ยาวพอเหมาะ ส่วนตัวแปรงไม่เล็กหรือใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับขนาดช่องปาก มีขนแปรงที่นิ่ม ปลายมน หากผู้สูงอายุมีปัญหากล้ามเนื้อมือ หรือไม่สามารถควบคุมการใช้มือในการแปรงฟันแบบธรรมดาได้ดี อาจแก้ไขได้โดย เลือกใช้แปรงสีฟันไฟฟ้าเพื่อผ่อนแรง หรืออาจเพิ่มสายรัดคล้องมือได้เพื่อยึดแปรงไว้กับมือ เป็นต้น ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน ร่วมกับการใช้ยาสีฟันชนิดครีมที่ผสมฟลูออไรด์ นานประมาณ 2 นาที โดยแปรงให้ทั่วถึง นอกจากนี้ การใช้ไหมขัดฟัน ไม้จิ้มฟัน และน้ำยาบ้วนปาก ก็ช่วยให้ช่องปากสะอาดมากยิ่งขึ้น และป้องกันปัญหาฟันผุ ขจัดคราบจุลินทรีย์ในช่องปากได้

ดูแลรักษาฟันปลอม
หลังรับประทานอาหารทุกมื้อ ควรถอดฟันปลอมออกมาทำความสะอาด โดยใช้แปรงสีฟันขนอ่อนกับน้ำสบู่ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ห้ามใช้ผงขัด ขณะล้างควรมีภาชนะรองรับ เพื่อกันฟันปลอมตกแตก ถ้ามีคราบฝังแน่นติดฟันปลอมสามารถแช่ในน้ำยาแช่ฟันปลอม หรือน้ำผสมเม็ดฟู่สำหรับฟันปลอมช่วยขจัดคราบและฆ่าเชื้อโรคได้และที่สำคัญก่อนนอนต้องถอดฟันปลอม เพื่อให้เหงือกได้พักผ่อน และเอาฟันปลอมแช่น้ำไว้เสมอ ไม่ให้ฟันปลอมแตกแห้ง

การทานอาหารที่เหมาะสม
ควรเลือกอาหารพวกโปรตีนย่อยง่าย ผัก ผลไม้ที่มีกากใยสูง รสไม่หวานจัดหรือเปรี้ยวจัด ควรน้ำอัดลม เพราะมีกรด ทำให้ฟันสึกกร่อน และทานอาหารให้เป็นมื้อ ไม่ควรกินจุบจิบ โดยเฉพาะช่วงก่อนนอน อาหารควรมีความอ่อนนุ่ม แต่ไม่ละเอียดเกินไป

เพียงแค่เอาใจใส่ดูแลสุขภาพในช่องปากด้วย 3 วิธีนี้ ก็ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ภายในช่องปาก ที่ทำให้คุณภาพชีวิตต้องย่ำแย่ลงไปได้แล้วล่ะค่ะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อควรรู้ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

หากคุณสังเกตเห็นความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่น อาการอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก มองเห็

ดูแลสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์ โรคร้ายทำลายผู้สูงอายุ

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคทางสมองอย่างหนึ่ง ที่พบในผู้สูงอายุได้บ่อยไม่แพ้โรคอื่น แม้ว

ทำอย่างไรเมื่อผู้สูงอายุกระดูกหัก

ในวัยสูงอายุ ความสามารถในการมองเห็น การเดิน และการประคองตนเองจะไม่ดีเท่าที่ควร ทำ

โรคลำไส้แปรปรวน รู้ทันโรคเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

โรคลำไส้แปรปรวน เป็นโรคที่พบได้ในผู้ใหญ่มากกว่าวัยหนุ่มสาว เกิดจากการทำงานผิดปกติของ

4 ข้อในการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ

การดำเนินชีวิตในแต่ละช่วงวัยของคนเรานั้น ย่อมมีหลักในการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สามาร

หลักการฟื้นฟูสุขภาพกายและใจให้ผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงสูงวัย นอกจากสุขภาพร่างกายที่ย่ำแย่ อ่อนแอลงไปมากแล้ว ยังมีเรื