โรคหัวใจ คุณเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ?

หัวใจ เป็นอวัยวะสำคัญที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายประมาณ 5 ลิตรต่อนาที ทำงานอย่างต่อเนื่องผ่านระบบไฟฟ้าหัวใจที่ซับซ้อน คนปกติในขณะพักจะมีชีพจรเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที

โรคหัวใจ และหลอดเลือด (Heart Disease) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงที่หลากหลาย ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ เพศ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ
- สูบบุหรี่
- ความดันโลหิตสูง
- ไขมันในเลือดสูง
- เบาหวาน
- โรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
- ความเครียด
- การไม่ออกกำลังกาย
- สตรีหลังหมดประจำเดือน
-ทานยาคุมกำเนิด
- รับประทานอาหารเค็มจัด

สัญญาณเตือนของโรคหัวใจ
1. อาการเจ็บแน่นหน้าอก
- เจ็บหน้าอกร้าวไปที่กราม แขน คอ หรือหลัง
- ร่วมกับเหงื่อออก ตัวเย็น หรือใจสั่น
- อาการเจ็บนานกว่า 20 นาที
2. เหนื่อยง่าย
3. ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง
4. หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ ใจสั่น
5. มีภาวะหัวใจล้มเหลว
6. เป็นลมหมดสติ

การปรับพฤติกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ
1. ควบคุมไขมันในเลือด
- ไขมันไม่ควรเกิน 30% ของพลังงานทั้งหมด
- ใช้น้ำมันพืชไม่เกิน 3-4 ช้อนโต๊ะต่อวัน รวมถึงกะทิและเนย
2. ควบคุมความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะโรคอ้วน
4. ออกกำลังกาย ระดับปานกลางถึงหนัก เช่น เดินเร็ว หรือปั่นจักรยาน อย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 40-50 นาที
5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
6. งดสูบบุหรี่

สรุป โรคหัวใจเป็นภัยที่ป้องกันได้ ผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมพฤติกรรมเสี่ยง และพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี หากมีสัญญาณเตือนควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิต


บทความที่เกี่ยวข้อง

10 ท่า คลายปวด นวดเอวและหลัง

การนวดเอวและหลังช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก กระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น

ผู้สูงอายุมีปัญหาการได้ยิน จะดูแลอย่างไร

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น สภาพร่างกายย่อมเสื่อมถอยลง โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ ที่สภาพร่างก

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเกาต์

โรคเกาต์ เป็นโรคอันดับต้นๆ ที่พบได้ในผู้สูงอายุ เกิดจากการใช้และขับถ่ายสารพวกพิวรี

อาการนอนไม่หลับ ก็บ่งบอกโรคได้นะ

ใครๆ ก็พูดว่า “อาการนอนไม่หลับ เป็นโรคของคนแก่” นั่นก็หมายความว่า เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ใครๆ ก็ส

เบาหวานขึ้นตา ป้องกันและรักษาได้อย่างไร

โรคเบาหวาน เป็นโรคอันดับ 1 ของผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาล

การออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ

สิ่งที่ดีต่อสุขภาพของคนเรา ไม่ว่าจะเพศใด หรืออายุเท่าใดนั้น คือการทานอาหารให้ครบ 5 หมู