4 สมุนไพร รักษาโรคความดันโลหิตสูง ทานทุกวัน ความดันปกติ



โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีผู้เป็นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป และพบได้มากในผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป

การจะดูแลควบคุมความดันโลหิตให้ปกติได้นั้น ทำได้ดังนี้
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
- ควบคุมปริมาณอาหารให้พอเหมาะ อย่าปล่อยให้อ้วน
- ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย
- หมั่นพบแพทย์ และตรวจสุขภาพประจำปี
- ไม่ออกกำลังกายหนักจนเกินไป

นอกจากนี้แล้ว การทานยาสมุนไพร หรือสมุนไพรบางอย่าง ก็ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างดีเช่นกัน โดยสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ มีดังนี้

กระเจี๊ยบแดง
มีสรรพคุณเป็นยาลดความดันโลหิตที่ดีมาก ผู้ที่ดื่มชากระเจี๊ยบเพียง 2-3 แก้ว ก็สามารถลดความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ 7.2 – 13 แล้ว ทั้งนี้เพราะในกระเจี๊ยบแดง มีสารแอนโธไซยานิน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสร้างความแข็งแรงให้กับหลอดเลือด

ขึ้นฉ่าย
การทานขึ้นฉ่ายวันละ 4 ต้น สามารถช่วยควบคุมความดันให้เป็นปกติได้ และยังช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ และช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย

คาวตอง
แม้ว่าชื่อจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักแพร่หลายเท่าใดนัก แต่สรรพคุณของคาวตอง ก็สามารถช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ดี เพราะช่วยลดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว จากการสะสมของไขมัน ซึ่งมีผลต่อความดันโลหิต สมุนไพรดีๆ แบบนี้ ใครยังไม่เคยลอง ต้องลองดูนะคะ

มะรุม
สมุนไพรมะรุม สามารถนำมาต้มเป็นซุปเพื่อทานแก้ความดันโลหิตสูงได้เป็นอย่างดี และยังเป็นสมุนไพรที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ชอบนำมาทำอาหารทานอยู่แล้ว

หากอยากควบคุมโรคความดันโลหิตสูงให้อยู่ในภาวะปกติ อย่าลืมนึกถึงสมุนไพรดีๆ อย่างกระเจี๊ยบแดง ขึ้นฉ่าย คาวตอง และมะรุมนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุ เพื่อการดูแลอย่างถูกต้อง

ระบบทางเดินอาหาร มีผลต่อการย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย เมื่อถึงวัยสูงอายุ ระบบทางเดินอาหารจะทำงานได้ลดลง

4 ข้อในการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ

การดำเนินชีวิตในแต่ละช่วงวัยของคนเรานั้น ย่อมมีหลักในการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สามาร

การออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ

สิ่งที่ดีต่อสุขภาพของคนเรา ไม่ว่าจะเพศใด หรืออายุเท่าใดนั้น คือการทานอาหารให้ครบ 5 หมู

ระยะต่างๆ ของโรคอัลไซเมอร์และอาการของโรค

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ทำให้ความจำในส่วนต่างๆ ถดถอยไป และอาจสูญห

การแก้ปัญหาเรื่องการได้ยินให้กับผู้สูงอายุ

ปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 3 ของโรคเรื้อรังต่าง

ข้อเข่าเสื่อม ดูแลรักษาตนเองได้อย่างไรบ้าง

ในผู้สูงอายุ เรามักพบปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้บ่อยๆ เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยล