ในวัยสูงอายุ ความสามารถในการมองเห็น การเดิน และการประคองตนเองจะไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้มักเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยเฉพาะการลื่นล้ม หรือชนกับสิ่งต่างๆ จนอาจทำให้เกิดกระดูกหักได้
อาการอย่างไรที่สงสัยว่ากระดูกหัก
- ปวดบวมตรงกระดูกที่หัก
- ส่วนที่กระดูกหักจะผิดรูปไป
การดูแลตนเองเบื้องต้น
หากสงสัยว่ากระดูกหัก ให้ดามด้วยวัสดุที่แข็งแรง เช่น ไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกเคลื่อน และสะดวกในการเคลื่อนย้ายไปโรงพยาบาล
การดูแลตนเองเมื่อต้องเข้าเฝือก
- พยายามให้ส่วนที่หัก อยู่สูงกว่าหัวใจเสมอ เช่น คล้องแขน วางขาสูง เพื่อช่วยการไหล เวียนโลหิต จะช่วยลดอาการบวมได้
- ขยับนิ้วมือนิ้วเท้าที่อยู่นอกเฝือกอย่างช้าๆ มากขึ้นเรื่อยๆ และบ่อยๆ ช่วยการเคลื่อนไหว จะช่วยลดอาการบวม และปวดได้
- อย่าให้น้ำเข้าไปในเฝือกโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ผิวหนังส่วนที่อยู่ในเฝือกเปื่อยเน่าได้
- ถ้าคันส่วนที่อยู่ในเฝือก ให้หาซื้อยาแก้แพ้แก้คัน เช่น คลอเฟนนิรามีนทานแก้คันได้ อย่าได้เอาอะไรเข้าไปเกาโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อส่วนที่อยู่ในเฝือก เกิดแผลและกลายเป็นแผลติดเชื้อได้ง่าย
- ต้องกลับมาพบแพทย์ทันที ที่มีอาการปวดมาก บวมจนปวด บวมจนชา บวมจนเขียว หรือ จนซีด หรือเฝือกหัก
- หากเป็นการผ่าตัดใส่เหล็ก ควรระวังเรื่องไข้ด้วย เพราะมีโอกาสติดเชื้อได้
เวลาในการฟื้นตัว
การติดของกระดูกแต่ละแห่งใช้เวลาไม่เท่ากัน แต่ปกติจะใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 4-6 สัปดาห์ขึ้นไป จึงจะสามารถเริ่มกลับมาใช้งานได้
เมื่อกระดูกหัก สร้างความเจ็บปวดทรมาน และอาจทำให้พิการได้ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ลูกหลานจึงควรเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด และระมัดระวัง รวมถึงป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุก็จะสามารถลดอุบัติเหตุที่จะทำให้กระดูกหักได้
หากคุณมีผู้สูงอายุในบ้านของคุณ หรือกำลังเป็นผู้สูงอายุอยู่ในตอนนี้ คุณคงอาจเคยสัม
หากญาติผู้ใหญ่ของคุณตรวจพบว่าเป็นเนื้อสมองตายเหตุขาดเลือด คุณคงตกใจมาก และคิดไปต่
หากพูดว่า “สมองฝ่อ” เรามักสงสัยว่า เมื่ออายุของเราเพิ่มมากขึ้น จะสามารถเป็นโรคสม
ในวัยสูงอายุ ความสามารถในการมองเห็น การเดิน และการประคองตนเองจะไม่ดีเท่าที่ควร ทำ
สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ มีความเสื่อมถอยสัมพันธ์กันกับสุขภาพร่างกาย เนื่องจากสภาพร่า
การนอนหลับ เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด และช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น มีกำลังจะทำสิ่งต่างๆ ใ