การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ



ร่างกายของคนเรา มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นพัฒนาการที่ดำเนินมาตั้งแต่เกิดไปจนถึงช่วงอายุต่างๆ แต่เมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เต็มตัว ร่างกายจะเริ่มเปลี่ยนจากพัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ด้อยลง และเมื่อถึงช่วงวัยสูงอายุ ก็จะกลายเป็นความเสื่อมของร่างกาย

การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ เกิดขึ้นจากระบบต่างๆ ของร่างกายที่ทำงานได้ลดลงไม่ดีเช่นเดิม ส่งผลให้ร่างกายเสื่อมถอยลง ดังนี้

ด้านร่างกาย
- ร่างกายภายนอก ผิวหนังเหี่ยวย่น มีกระ ผมบางเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีขาว หลังโก่ง เคลื่อนไหวร่างกายได้ช้าลง กำลังน้อยลง
- อวัยวะในการรับความรู้สึก อวัยวะเกี่ยวกับการรับความรู้สึกจะเสื่อมเป็นอันดับแรกๆ เช่น ผนังเส้นเลือดแดงในหูแข็งตัว ทำให้ได้ยินเสียงไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเสียงแหลมหรือเสียงที่มีความถี่สูง
- เสียง เนื่องจากกระดูกอ่อนบริเวณกล่องเสียงแข็งตัวและขาดความยืดหยุ่น ทำให้มีน้ำเสียงสูงแต่ไม่มีพลัง
- ฟัน มีอาการเหงือกร่น รากฟันโผล่พ้นขอบเหงือก ทำให้ฟันผุและเสียงฟันได้ง่าย
- ระบบต่างๆ เช่น ระบบประสาทเซลล์ ระบบทางเดินอาหาร ระบบการไหลเวียนโลหิต ทำงานได้ลดลง จึงเกิดโรคได้ง่าย
- กระดูกและกล้ามเนื้อ กระดูกผุกร่อนทำให้หักได้ง่าย กล้ามเนื้อก็ลีบเล็กลง มีไขมันแทรกในกล้ามเนื้อ

ด้านอารมณ์
โดยธรรมชาติ ผู้สูงอายุจะมีความสงบเยือกเย็น ไม่กระตือรือร้น ต้องการพักผ่อน แต่ด้วยสภาพสังคม สภาพครอบครัวในปัจจุบัน ทำให้สภาพอารมณ์ในผู้สูงอายุเปลี่ยนไปในหลายลักษณะจากที่ควรจะเป็น ดังนี้
1. บุคลิกแบบต่อต้าน คือพยายามต่อสู้กับความเสื่อมถอยหวาดหวั่นของชีวิตแบบเป็นลักษณะต่างๆ
2.บุคลิกเฉยชาและพึ่งพาบุคคลอื่น คือ ต้องการได้รับการตอบสนองและการช่วยเหลือจากผู้อื่น
3.บุคลิกแบบการผสมผสาน คือมีความเสื่อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ขาดการควบคุมอารมณ์ แสดงออกถึงความบกพร่องทางด้านความคิดอ่านและภาวะจิตใจอย่างเห็นได้ชัด จะยังคงอยู่ในสังคมได้ แต่จะมีพฤติกรรมและความพึ่งพอใจต่อชีวิตอยู่ในระดับต่ำ

ด้านสังคม
ในด้านสังคม ผู้สูงอายุในวัยนี้จะมีเวลามากขึ้น ทั้งการทำกิจกรรมที่ชอบ การท่องเที่ยว และเข้าวัด แต่จะมีข้อจำกัดในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ไม่ค่อยสนใจผู้อื่นมากนัก แต่จะสนใจตนเองมากขึ้น

ด้านสติปัญญา
วัยสูงอายุ สมองจะฝ่อและมีน้ำหนักลดลง เนื่องจากมีเลือดมาเลี้ยงสมองน้อยลง เซลล์ประสาทตายเพิ่มขึ้นและเซลล์ลดจำนวนลงตามอายุ ทำให้สมองเสื่อม ความจำเสื่อม แต่ในส่วนความจำในอดีตจะไม่เสีย แต่ความคิดอ่านจะเชื่องช้าลง

ตัวผู้สูงอายุเอง และลูกหลาน ควรใส่ใจในการเปลี่ยนแปลงของตนเอง รวมทั้งปรับตัวกับสภาพที่เปลี่ยนไป เพื่อให้สุขภาพจิตดี และสุขภาพแข็งแรงสมวัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงวัยแต่ละคนแตกต่างกัน

เมื่อช่วงวัยที่ยังเป็นหนุ่มสาว หรืออยู่ในช่วงวัยกลางคนตอนปลาย คนในช่วงวัยเดียวกัน

6 ข้อ กำจัดความเหงาให้ญาติผู้ใหญ่ของคุณ

วัยสูงอายุ เป็นวัยที่ฮอร์โมนลดน้อยลงจนหมดไป และสุขภาพร่างกายก็เสื่อมถอยไปตามช่วงวัย ดังนั้น จึงไม่แปล

อาการของสตรีวัยทอง

วัยทอง คือชื่อเรียกของผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน สาเหตุที่เรียกว่า “

หลักพื้นฐานการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่พึงกระทำ

ผู้สูงอายุนอกจากมีความต้องการการดูแลจากครอบครัวและสังคมแล้ว ผู้สูงอายุเองควรรู้

เมื่อคุณเป็นผู้สูงอายุ ควรทำอย่างไรบ้าง

สิ่งที่สำคัญในผู้สูงอายุ คือการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องสุขภาพ เพราะเป็นช่วงวัย

อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าสู่ช่วงสูงวัย

ความจริงแล้ว อายุที่เพิ่มมากขึ้นไปจนถึง 40 ขึ้นไป คุณก็เข้าสู่ช่วงสูงวัยแล้ว และเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป คุณก็