โรคกระดูกพรุนในคนชรา ป้องกันได้



โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบได้ในผู้สูงอายุทุกคน เกิดจากการทำงานของฮอร์โมนที่ลดลง ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายลดลงตามไปด้วย

สาเหตุของโรค
- การไม่ได้รับแคลเซียมที่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว ทำให้มวลกระดูกไม่หนาแน่น และกระดูกพรุนได้ง่าย
- กรรมพันธุ์ ซึ่งมีโอกาสเป็นสูงถึง 80% ส่วน 20% นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย
- การทานยาแก้โรคบางอย่างที่นำไปสู่การลดความหนาแน่นของกระดูก เช่น คอร์ติโซนยาแก้โรคหืดยาเฮปาริน การรักษาโดยการฉายรังสี หรือการให้สารเคมี เป็นต้น
- การสูบบุหรี่ และดื่มสุราเป็นประจำ จะลดประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ทำให้กระดูกเสื่อมและหดลงเร็ว
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำอัดลม ชา เป็นต้น ทำให้กระดูกเสื่อมง่ายขึ้น
- การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนของหญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น
- การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำในวัยชรา ทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น
- การสูญเสียแคลเซียม ผ่านทางผิวหนัง ปัสสาวะและอุจจาระ และไม่ได้รับการทดแทนเพื่อรักษาระดับแคลเซียมในกระดูก
 - การไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย เมื่อวัยชราโรคกระดูดพรุนเกิดขึ้นรุนแรง ถ้าขาดการออกกำลังกาย และการสูญเสียความแข็งแรงของกระดูก มักเกิดขึ้นในช่วงที่ไม่ได้เคลื่อนไหว เช่น ในขณะนั่งรถเข็น หรือนอนพักฟื้น
- ขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดีมีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ

การป้องกันโรค
- ออกกำลังการสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่มีแสงแดดอ่อนๆ
- เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ควรรีบทำกายภาพบำบัด หรือเคลื่อนไหวร่างกายให้ได้มากที่สุด
- ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลากระป๋อง หรือปลาที่สามารถทานก้างไปด้วยได้ นมพร่องมันเนย ผักผลไม้
- งดดื่มสุรา และสูบบุหรี่
- ไม่ซื้อยามาทานเอง เช่น ยาลูกกลอน ซึ่งมักมีสารเสตียรอยด์ผสมอยู่ ทำให้กระดูกพรุนได้โดยไม่รู้ตัว

โรคกระดูกพรุน ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้อยลง และมักมีอาการเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น จึงควรป้องกันเอาไว้ก่อนที่จะสายเกินไปนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการที่บ่งบอกว่าขาดสารอาหาร และวิธีการแก้ไข

ในวัยสูงอายุนั้น การกินอาหารมักด้อยประสิทธิภาพลง เนื่องจากปัจจัยในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่

การดูแลสุขภาพเบื้องต้นสำหรับผู้สูงอายุ

โดยปกติแล้ว คนเราทุกคน ควรดูแลเอาใจใส่สุขภาพกาย และสุขภาพใจของตนเองเป็นอย่างดีในทุ

นอนไม่หลับ เสี่ยงสุขภาพจิตเสื่อม

การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อย และเป็นอาการหนึ่งที่ผู้สูงอายุส่วนมากมักพบเจอ ซึ่ง

อาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รักษาอย่างไร

ผู้สูงอายุหลายท่าน มักตรวจพบว่าตนเองมีโรคประจำตัว และมีอาการของโรคเกิดขึ้นอยู่บ่อย

พุงนุ่มนิ่มของคุณ แฝงโรคอะไรไว้บ้างนะ

ผู้สูงอายุที่มีพุงพลุ้ยๆ ดูนุ่มนิ่มน่ากอดที่สุด อาจคิดว่าเป็นสิ่งที่ล

อาหารที่ดี เสริมสร้างสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ

อาหาร เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต แต่ก็อาจเป็นดาบสองคมให้กับเราได้เช่นกัน หากว่า