อาการเพ้อ และโรคสมองเสื่อม



บุตรหลานที่มีผู้สูงอายุในบ้าน มักเคยพบเห็นอาการแปลกๆ ของผู้สูงอายุ ที่ดูเหมือนเพ้อ แต่ก็เป็นๆ หายๆ ซึ่งสร้างความเป็นห่วงให้ลูกหลาน ว่าจะเป็นอันตราย หรือเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่

อาการของโรค
อาการเพ้อ เป็นอาการสับสนฉับพลัน มีอาการสับสนขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เป็นระยะเวลาไม่นาน และอาจเป็นในช่วงกลางคืน อาการเพ้อจะเป็นรวดเร็วในทันทีไม่ค่อยเป็นค่อยไปเหมือนโรคสมองเสื่อม และไม่มีอาการรุนแรงเหมือนโรคสมองเสื่อม อาการเพ้อจึงต่างจากโรคสมองเสื่อม และอาจยังไม่ใช่โรคสมองเสื่อม แต่ในระยะเริ่มแรกที่มีอาการ บุตรหลานควรใส่ใจใกล้ชิด และรีบพาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุว่าเป็นอาการเพ้อ หรือโรคสมองเสื่อมกันแน่

ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการเพ้อ
ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการเพ้อคือ ผู้สูงอายุ ใช้ยานอนหลับ มีโรคทางสมอง มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ เป็นต้น เป็นโรคติดเชื้อรุนแรง พิษสุราเรื้อรัง พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน มีปัญหาในการมองเห็น และอาจเกิดขึ้นกับผู้เป็นโรคสมองเสื่อม

การรักษา
1. แก้ไขสาเหตุโดยตรง
การแก้ไขสาเหตุของโรคโดยตรง คือ หากใช้ยานอนหลับก็ให้หยุดยา หรือหากมีโรคติดเชื้อ ก็ทำการรักษาอาการติดเชื้อเป็นต้น
2. รักษาโดยประคับประคองตามอาการ
การรักษาโดยการประคับประคองตามอาการ ทำได้โดยการพูดคุยกับผู้ป่วย การให้คำแนะนำ หรือการใช้ยารักษา เป็นต้น
3 จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ นอนให้เป็นเวลา ให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวในแต่ละวัน อย่าให้นอนกลางวัน ใช้อุปกรณ์ช่วยในการฟัง หรือใส่แว่น เป็นต้น

แม้อาการเพ้อ จะไม่ใช่โรคสมองเสื่อมเสมอไป แต่อาการเพ้อ พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและผู้ที่มีอาการเพ้อก็มีโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมตามมาได้สูงกว่าผู้ที่ไม่มีอาการ ซึ่งแม้ไม่เป็นโรคสมองเสื่อม แต่ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพได้ การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และบุตรหลานควรดูแลอย่างใกล้ชิด ก็จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสุขภาพประจำปี ป้องกันโรค เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี

การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของคนเรา หลายคนมักมองข้ามว่า หากเราดูแลตนเองเป็นอย่

พฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อม

อาการสมองเสื่อม อาจพบได้ในผู้สูงอายุที่มีอายุมากแล้ว หรืออาจพบในผู้สูงอายุทั่วไปไ

คันทวารหนักไม่ควรอาย รีบไปหาหมอ

แม้ว่าการคันทวารหนักจะพบได้ในทุกวัย แต่ก็พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากความย

ใช้ชีวิตบั้นปลาย ให้ห่างไกลโรค

ชีวิต เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเราทุกๆ คน ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยใดของชีวิต ก็ควรดูแลรักษาสุขภาพร่า

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเกาต์

โรคเกาต์ เป็นโรคอันดับต้นๆ ที่พบได้ในผู้สูงอายุ เกิดจากการใช้และขับถ่ายสารพวกพิวรี

ความดันโลหิตสูง โรคภัยใกล้ชิดผู้สูงวัย

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ รวมถึงคนวัยทั่วไปก็สามารถเป็นได้ ส่วนใหญ่เมื่อความดัน