ความดันโลหิตสูง ควบคุมได้



ความชรา นำมาซึ่งอาการเจ็บป่วย และโรคภัย แม้ผู้สูงอายุบางท่านจะสุขภาพแข็งแรงดี ไม่เป็นโรคเบาหวาน ไม่เป็นโรคไต แต่โรคที่มาควบคู่กับอายุที่เพิ่มมากขึ้นก็ยากที่จะหลีกเลี่ยง นั่นคือ “ความดันโลหิตสูง”

ลูกหลานบางคนรู้สึกกังวลเมื่อพบว่าญาติผู้ใหญ่ของท่านเป็นความดันโลหิตสูง เนื่องจากหากไม่ควบคุมให้อยู่ในระดับปกติ อาจส่งผลเสียและเป็นอันตรายต่อตัวผู้สูงอายุได้เช่นกัน

ความดันโลหิตสูง แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม อายุ สภาพแวดล้อม อารมณ์ การรับประทานอาหาร หรือสิ่งต่างๆ แต่ก็สามารถป้องกัน และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในสภาวะปกติได้

การลดความดันโลหิตสูง
1. ลดโซเดียม และเพิ่มโพแทสเซียม
การลดโซเดียม คือการลดเกลือ ลดการทานเค็ม รวมถึงการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียม เพราะร่างกายต้องการโซเดียมเพียงวันละเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งการทานสิ่งที่มีโซเดียมปะปนอยู่ เป็นการทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากจนเกินไป เสี่ยงต่อโรคไต และความดัน
เพิ่มโพแทสเซียม และแมกนีเซียมให้ร่างกายจะดีกว่า โดยหาได้จากในผักและผลไม้สด เช่น กล้วย มันฝรั่ง และผักใบเขียวต่างๆ เป็นต้น
2. ดื่มน้ำสมุนไพร
น้ำสมุนไพรช่วยให้ร่างกายสดชื่น และยังช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งส่งผลต่อความดันโลหิตอีกด้วย ซึ่งน้ำสมุนไพรที่ควรดื่ม เช่น น้ำขึ้นฉ่าย น้ำกระเจี๊ยบแดง และน้ำใบบัวบก
3. จัดการกับอารมณ์ของตนเอง
อารมณ์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้น การลดความเสี่ยง หรือการลดความดันโลหิตให้กลับมาสู่สภาวะปกติได้ จึงจำเป็นต้องจัดการกับอารมณ์ของตนเอง ดังนี้
- หมั่นนั่งสมาธิ และฟังธรรมะ เพื่อช่วยให้มีสติ และจิตใจสงบขึ้น เข้าใจความเป็นไปของโลก และปลงต่อสิ่งต่างๆ มากขึ้น เป็นการช่วยรักษาระดับความดันโลหิตที่ดี
- ฟังเพลงคลายเครียด เสียงเพลงช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เย็นลง และสงบขึ้นได้
- ใช้น้ำมันหอมระเหยช่วย กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจะช่วยให้ผ่อนคลายจากความตึงเครียดได้ รู้สึกเหมือนได้พักผ่อน
- ยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเอง ปล่อยให้เป็นไปตามกาลเวลาและช่วงอายุ เข้าใจสัจธรรมของโลกนี้ และมีทัศนคติที่ดี แง่บวก ต่อสิ่งต่างๆ สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

แม้อายุจะเพิ่มมากขึ้น แต่หากคุณหมั่นทำจิตใจให้แจ่มใส ดูแลเอาใจใส่ในการกิน คุณก็จะยิ้มให้กับตนเองได้ แม้ว่าอายุจะเพิ่มขึ้นขนาดไหนก็ตาม


บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อม

อาการสมองเสื่อม อาจพบได้ในผู้สูงอายุที่มีอายุมากแล้ว หรืออาจพบในผู้สูงอายุทั่วไปไ

อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง

อาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่มนุษย์เราจะขาดไม่ได้ เพื่อใช้ในการประทังชีวิต และควา

โรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ

โรคจอตาเสื่อม เป็นโรคที่จะเกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แล

รู้ปัจจัยเสี่ยง เลี่ยงการเป็นความดันในผู้สูงวัย

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่ได้มีความร้ายแรงเทียบเท่ากับโรคร้ายอื่นๆ แต่หากไม

ทานอาหารอย่างไร เมื่อเป็นโรคเกาต์

ในช่วงบั้นปลายของชีวิต คุณอาจอยากมีความสุขมากที่สุด ได้พักผ่อน ได้ทานของอร่อย แต่กา

6 ข้อปฏิบัติ ป้องกันและแก้ไขโรคกระดูกพรุน

กระดูกพรุน เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เนื่องจากมวลกระดูกลดน้อยลง และสามารถเกิ