การเขียนบันทึก ช่วยฝึกความจำ ป้องกันอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายก็จริง แต่อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดต่อจิตใจ เนื่องจากการสูญเสียความจำ หรือความสามารถบางอย่างซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก

ไม่ต้องถึงขั้นโรคอัลไซเมอร์ แต่เมื่ออายุมากขึ้น และความจำของคุณเสื่อมถอยไป รู้สึกว่ามึนๆ งงๆ เพิ่งทำอะไรไปก็จำไม่ได้เสียแล้ว ก็ทำให้คุณวิตกกังวลได้มากแล้ว การแก้ปัญหาในด้านความจำจึงต้องอาศัยการฝึกสมองอยู่เสมอ

การเขียนบันทึก กับการฝึกความจำ
การเขียนบันทึก เป็นวิธีหนึ่งที่ดีมาก ในการช่วยฝึกสมอง และพัฒนาความจำ ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วยโดยหลักการเขียนบันทึก มีดังนี้
- หาสมุดสวยๆ มาสักเล่ม และพกพาได้สะดวก หรือน่าหยิบจับขึ้นมาเขียน
- เขียนด้วยปากกา อาจใช้ปากกาสีเดียว หรือหลายๆ สี หรือวาดภาพ ระบายสี มีภาพถ่ายประกอบก็สามารถทำได้
- การเขียนบันทึกที่ดีต่อการฝึกความจำ ควรเป็นการเขียนก่อนนอน และเขียนบันทึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้นตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงเข้านอน
- อาจเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันนั้น หรือเขียนสรุปเรื่องที่ได้อ่าน หรือได้ดูมาก็ได้เช่นกัน

ประโยชน์ของการเขียนบันทึกต่อความจำ
การเขียนบันทึกประจำวัน เขียนบันทึกเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น หรือเขียนสรุป เป็นการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นและบันทึกตามความเข้าใจ และการจดจำของเรา ช่วยฝึกความจำได้เป็นอย่างดี และช่วยให้ได้ฝึกสมองให้จดจำในทุกๆ วัน ทำให้ไม่หลงลืมง่าย และมีความคิดเป็นระบบ เพราะคุณต้องเรียบเรียงเหตุการณ์ให้ถูกต้อง

ข้อแนะนำในการเขียนบันทึก
- ควรเขียนทุกวัน เพื่อเป็นการฝึกความจำในทุกๆ วัน
- ควรหมั่นเอามานั่งอ่านเมื่อครบสัปดาห์ หรือครบหนึ่งเดือน เพื่อทบทวนว่าคุณยังจำเหตุการณ์นั้นๆ ได้หรือไม่
- ควรวางสมุดบันทึกในที่ที่สามารถเขียนได้สะดวก หรือพกติดตัวไว้ เพื่อที่จะสามารถเขียนได้ตลอดเวลา

โรคความจำเสื่อม ความจำถดถอย หรือโรคที่ทำให้สูญเสียความจำอย่างอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต ซึ่งหากเป็นมากย่อมต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นในการดูแล และอาจเป็นอันตรายได้เช่นกัน ดังนั้น การฝึกความจำ และพัฒนาสมองในการจำ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณสามารถดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุขได้

รู้ประโยชน์ของการจดบันทึกต่อการพัฒนาความจำเช่นนี้แล้ว อย่าลืมเริ่มจดบันทึกกันตั้งแต่วันนี้นะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

4 วิธี พัฒนาสมองให้กับผู้สูงอายุ

ในวัยสูงอายุ เรามักพบว่า ผู้สูงอายุมีอาการหลงๆ ลืมๆ อยู่บ่อยครั้ง และมีแนวโน้มว่าจะ

เมื่ออายุมากขึ้น ระบบร่างกายจะเป็นเช่นใดบ้าง

ผู้สูงอายุหลายท่าน หรือวัยกลางคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ช่วงสูงอายุ

7 มาตรการดูแลตนเอง ทำได้ ก็สุขภาพดี อายุยืนยาว

แม้ว่าในวัยสูงอายุ ร่างกายจะเริ่มเสื่อมถอย ทำให้มีความจำกัดหลายอย่างในการดำเนินชี

เข้าใจภาวะสูญเสียของผู้สูงอายุ เพื่อการดูแลอย่างถูกต้อง

ภาวะสูญเสีย เป็นภาวะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ไม่ว

ผู้สูงอายุ กับปัญหาการใช้ยา

ในช่วงวัยสูงอายุ ผู้สูงอายุมักพบว่าตนเองมีโรคประจำตัว หรือมักเจ็บ

วัยสูงอายุ ช่วงวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง

ในบ้านของเรา หรือแม้แต่ตามสถานที่ทั่วไป เรามักพบว่ามีผู้สูงอายุอยู่ด้วยเสมอ แม้ว่าผู