ฟันปลอม นับเป็นหนึ่งในไอเท็มเสริมของผู้สูงอายุ ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก ฟันปลอมมีทั้งชนิดถอดได้ และชนิดติดแน่น ซึ่งมีวิธีการดูแลที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
การดูแลฟันปลอมชนิดถอดได้
- หลังรับประทานอาหารทุกมื้อ ควรถอดฟันปลอมออกมาทำความสะอาดทุกครั้ง โดยใช้แปรงสีฟันแปรงให้ทั่วทุกซี่รวมถึงฐานของฟันปลอมด้วย อาจใช้ยาสีฟัน หรือสบู่ก็ได้ แต่เมื่อล้างน้ำจนสะอาดแล้ว ควรแช่น้ำเปล่าไว้ การแปรงฟันปลอมทุกวันช่วยกำจัดเศษอาหาร คราบแบคทีเรียและคราบต่างๆ ได้
- ฟันปลอมมีความบอบบางและแตกหักได้หากทำตก จึงควรระมัดระวัง
- เมื่อไม่ได้ใส่ ควรแช่ในน้ำยาแช่ฟัน หรือในน้ำเปล่า เพราะหากวางทิ้งไว้ข้างนอก อากาศจะทำให้ฐานพลาสติกแห้งและบิดงอได้
- ควรแปรงเหงือก ลิ้น และเพดานปากในขณะแปรงฟันด้วย เพื่อเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ก่อนที่จะสวมฟันปลอม
- หากฟันปลอมชำรุดเสียหาย ควรพบทันตแพทย์ ไม่ควรซ่อมเอง
- เมื่อเวลานอน ควรถอดฟันปลอมแช่น้ำไว้ เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดทับของฐานฟันปลอมในขณะนอนหลับ ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคือง และเกิดเนื้องอกได้ อีกเหตุผลหนึ่งคือ การใส่ฟันปลอมตลอดเวลาทำให้เกิดกลิ่นปากได้
การดูแลฟันปลอมชนิดติดแน่น
- ควรใส่ใจการแปรงบริเวณคอฟันที่ถูกครอบเป็นพิเศษ
- ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ เพื่อกำจัดคราบ และสิ่งสกปรกต่างๆ
- ใช้ไหมขัดฟันสอดใต้ฟันปลอม เพื่อทำความสะอาดสะพานฟัน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แข็งมากๆ หรือติดค้างตามซอกฟันได้ง่าย เพราะยากต่อการทำความสะอาด ซึ่งอาจเกิดการสะสมของแบคทีเรียได้
การใส่ฟันปลอม ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น แต่หากใส่ฟันปลอมแล้ว ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปากและฟันปลอมทุก 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละครั้ง เพราะการใส่ฟันปลอม ทำให้เกิดเศษอาหารตกค้างในช่องปากได้ง่าย ทำให้เกิดฟันผุหรือเหงือกอักเสบได้ตลอดเวลา หากคุณหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากและพบทันตแพทย์ ฟันปลอมของคุณก็สามารถมีอายุการใช้งานที่ยืนยาว และคุณเองก็จะมีสุขภาพช่องปากที่ดีด้วย
เมื่อต้องเข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุแทบทุกคนมักรู้สึกว่าตนเองกำลังถอยหลังไปเ
ในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอลง และเจ็บป่วยได้ง่ายอย่างช่วงสูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักกังวลว่าจะใช้ชีวิตอ
อาหารช่วยคลายเครียด เคล็ดลับสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุสำหรับผู้สูงอายุ ความเครียดเป
แม้วัยชรา จะเคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก มักเจ็บป่วยบ่อยครั้ง แต่ผู้สูงอายุก็ยังคงมีความชื่นชอบในเรื่องต
ในวัยสูงอายุ กระดูกย่อมอ่อนแอ และพรุนได้ง่ายมาก โรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะในเพศหญิง ซึ่