ใช้ชีวิตบั้นปลาย ให้ห่างไกลโรค

ชีวิต เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเราทุกๆ คน ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยใดของชีวิต ก็ควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจให้ดีอยู่เสมอ ก็จะส่งผลให้คุณมีชีวิตที่ยืนยาว และชีวิตในบั้นปลายของคุณก็จะมีความสุขได้

ผู้สูงอายุมักเจ็บป่วยบ่อย และสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง ทั้งนี้เพราะความเสื่อมของร่างกายตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น และความเสื่อมที่คุณได้กระทำต่อร่างกายของคุณเอง เช่น การไม่ออกกำลังกาย การทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การไม่ระมัดระวังในการใช้ชีวิต เป็นต้น ซึ่งการป้องกัน และข้อควรปฏิบัติของผู้สูงอายุ มีดังนี้


1. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
ความดันโลหิตเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมีผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมาก ซึ่งความจริงแล้ว ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ก็ควรตรวจวัดความดันสม่ำเสมอได้แล้ว และวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะทำให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ นั่นคือ หมั่นทำอารมณ์ให้แจ่มใส มีภาวะทางอารมณ์ที่คงที่ และมองโลกในแง่บวก


2. ทานอาหารที่ดี
ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด และอาหารมันๆ เช่น กะทิ เนื้อสัตว์ติดมัน รวมถึงน้ำตาลด้วย เพราะจะทำให้ระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นได้ และอาจทำให้เป็นโรคเบาหวาน โรคไต ตามมาได้อีก


3. ควบคุมน้ำหนักตัว
ผู้สูงอายุหลายท่านมักคิดว่าตนอยากใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุข จึงไม่สนใจที่จะควบคุมน้ำหนัก และทานสิ่งที่อยากทานอย่างไม่ระมัดระวัง ซึ่งลูกหลานก็พลอยเห็นดีเห็นงามด้วย แท้จริงแล้ว ผู้สูงอายุควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ เพราะอาจทำให้เป็นโรคอ้วน ไขมันอุดตันเส้นเลือด เบาหวาน โรคไต ความดันโลหิตสูง เป็นต้น


4. หยุดสร้างความเสื่อมให้ร่างกาย
เช่น นอนพักผ่อนให้เพียงพอ งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีมลพิษ หรือเป็นคนอารมณ์ร้อน อ่อนไหวง่ายต่อสถานการณ์รอบข้างซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ สิ่งเหล่านี้ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมและสุขภาพจิตไม่ดี


5. ออกกำลังกาย
แม้จะอยู่ในวัยสูงอายุ แต่ก็ต้องออกกำลังกายเช่นกัน เพื่อสร้างความกระฉับกระเฉง สดชื่นให้กับร่างกาย การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุนั้น ควรเป็นการเดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ หรือการปั่นจักรยาน ซึ่งควรออกกำลังกายประมาณ 15-20 นาที อย่างน้อย 3-6 ครั้งต่อสัปดาห์

แม้จะอยู่ในวัยสูงอายุ แต่หากคุณหมั่นดูแลร่างกาย และจิตใจให้ดีอยู่เสมอ คุณก็จะมีอายุยืนยาว และมีสุขภาพที่แข็งแรง เหมือนได้ย้อนวัยไปถึง 10 ปีเลยทีเดียว


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อปวดหลังช่วงล่าง

ผู้สูงอายุ มักปวดหลังเป็นประจำ ทำให้จะลุกจะนั่งก็ลำบากจากอาการเจ็บปวดทรมาน ซึ

โรคเกาต์ เอาชนะได้ เพียงใส่ใจผู้สูงอายุ

โรคเกาต์เป็นอาการผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากการกินและไม่ค่อยออกกำลังกาย ส่วนมากพบในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้

ผู้สูงอายุมีปัญหาการได้ยิน จะดูแลอย่างไร

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น สภาพร่างกายย่อมเสื่อมถอยลง โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ ที่สภาพร่างก

ป้องกันอาหารเป็นพิษในผู้สูงอายุ

แม้ว่าอาการอาหารเป็นพิษ จะเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในวัยสูงอายุ ซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำกว

9 ข้อ พิชิตสุขภาพดี

การดูแลตนเองเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุควรปฏิบัติ และลูกหลานก็ควรให้ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุของท่านเช

ทำอย่างไรเมื่อผู้สูงอายุกระดูกหัก

ในวัยสูงอายุ ความสามารถในการมองเห็น การเดิน และการประคองตนเองจะไม่ดีเท่าที่ควร ทำ