อาการสูญเสียความทรงจำ อาการร้ายๆ ที่ญาติไม่ควรนิ่งนอนใจ



แม้ว่าผู้สูงอายุในครอบครัวของคุณจะผ่านช่วงวัยหนุ่มสาวมาอย่างไร หรือแข็งแรงมากแค่ไหนก็ตาม เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ ก็มักเกิดโรคประจำตัว และอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้เสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป และระบบต่างๆ ในร่างกายที่ทำงานได้ด้อยประสิทธิภาพลง

อาการสับสนและสูญเสียความทรงจำ เป็นอาการอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นได้มากในผู้สูงอายุ แม้จะดูเหมือนไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่ก็อาจส่งผลเสียมากมายตามมาได้

อาการหลงลืมหรือคิดช้าลงเป็นอาการที่พบได้เมื่ออายุมากขึ้น หากมีปัญหาสุขภาพที่เฉียบพลัน เช่น การอักเสบติดเชื้อ หัวใจหรือสมองขาดเลือด ซึ่งอาจเกิดอาการเพ้อ งุนงง สับสนได้ง่ายขึ้น ดังนั้น เมื่อมีอาการเจ็บป่วยใดๆ ไม่ควรปล่อยไว้ แต่ควรรีบแก้ไขที่สาเหตุของการเจ็บป่วยให้เร็วที่สุด อาการเหล่านี้ก็จะดีขึ้นได้

อาการสับสน และหลงลืม หรือคิดอะไรได้ช้านั้น ส่งผลเสียในระยะยาว และอาจนำไปสู่โรคสมองเสื่อมได้ ดังนั้น คนในครอบครัวจึงควรหมั่นสังเกตอาการให้ดี หากพบว่าผู้สูงอายุเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ พฤติกรรม และความทรงจำอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน นั่นอาจเป็นสัญญาณถึงอาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อมได้

สัญญาณเตือน
สัญญาณเตือนว่าผู้สูงอายุอาจมีสมองเสื่อม มีดังนี้
- เรียนรู้หรือจดจำสิ่งใหม่ๆ ลำบาก
- พูดซ้ำถามซ้ำ
- เริ่มบกพร่องในการทำสิ่งที่ซับซ้อน
- หลงทิศทางหรือลืมทิศทางในที่ที่ควรคุ้นเคย
- ไม่อยากเข้าสังคมหรือพูดน้อยลง
- อารมณ์หรือนิสัยเปลี่ยนแปลงไป

แนวทางในการดูแล
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินอาการและรับการรักษา แม้ว่าภาวะความจำเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็มีวิธีที่จะช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคได้อย่างการทำกิจกรรมต่างๆ ที่กระตุ้นสมอง เช่น ทำงานหรือทำงานบ้านเท่าที่ทำได้ เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมกับครอบครัวและเพื่อนๆ อ่านหนังสือ เล่นเกม ออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นต้น

ลูกหลาน หรือคนในครอบครัวมีส่วนต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ดังนั้น ควรเฝ้าสังเกตอาการ ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ และดูแลผู้สูงอายุในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสมด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความดันโลหิตต่ำ ภาวะอันตรายที่พึงระวัง

หากพูดถึงความดันโลหิตสูง คงเป็นที่รู้จักของใครหลายๆ คน และเป็นภาวะที่ผู้ที่มีน้ำ

โรคผิวหนัง อาการคัน และผื่น กับวัยของผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ผิวหนังจะเริ่มเหี่ยวลง และอาจมีอาการคันมาก มีผื่นขึ

ภาวะขี้หูอุดตันในผู้สูงอายุ

แม้ว่าภาวะขี้หูอุดตันจะพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่ก็สามารถพบได้ในผู้สูง

ปัญหาในระบบย่อยอาหาร เมื่ออายุมากขึ้น

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีปัญหาในการกิน การย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อส

ติ่งเนื้อบนผิวหนัง อันตรายหรือไม่

ติ่งเนื้อที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง เป็นติ่งที่มีก้านติดกับผิวหนัง ขนาดประมาณ 1-5 มิลลิเมตร

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ป้องกันได้อย่างไร

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุเพศชาย และสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายในการปัสสา