โรคประจำตัวต่างๆ กับการออกกำลังกาย



เป็นที่ทราบกันดีว่า แม้จะอยู่ในช่วงวัยสูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว ก็ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกัน วันนี้เราจึงมีแนวทางการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวต่างๆ มาฝากค่ะ

โรคหัวใจ    
กีฬาและการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจคือ เดิน รำมวยจีน ปั่นจักรยาน กรรเชียงเรือ เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำช้าๆ เดินในน้ำ กอล์ฟ สกี ข้อควรระวังในการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหัวใจ มีดังนี้   

1. ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจไม่ควรออกกำลังที่เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบน เช่น อก แขน   

2. ถ้ามีอาการผิดปกติขณะออกกำลัง ควรหยุดพัก เช่น อาการเหนื่อยมากผิดปกติ อาการวิงเวียน เกือบเป็นลม อาการเจ็บจุกแน่นหน้าอก อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วมากจนมือเท้าเย็น หยุดพักแล้วชีพจรไม่ช้าลง หากพบอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์   

3. การหยุดพักการออกกำลังกายไม่ควรหยุดทันที ควรผ่อนความเร็วลงช้าๆ แล้วจึงหยุด   

4. ไม่ควรอาบน้ำเย็นหลังออกกำลังกายทันที จะทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น กระตุ้น ให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเจ็บแน่นหน้าอกได้   

5. ไม่ควรออกกำลังในสถานที่อากาศร้อนอบอ้าว ซึ่งทำให้เสียเหงื่อมาก ร่างกายขาดน้ำ หัวใจจะต้องทำงานหนักขึ้น   

โรคเบาหวาน    
ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานควรงดการแข่งขันกีฬา หรือการเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่เคลื่อนไหว การออกกำลังกายที่เหมาะสมคือ การแกว่งแขน การเดิน การรำมวยจีน วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ขี่จักรยานช้าๆ ว่ายน้ำช้าๆ ข้อควรระวังในการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีดังนี้    

1. ต้องมีการป้องกันภาวะน้ำตาลในโลหิตต่ำระหว่าง และหลังจากการออกกำลังกาย    

2. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายโดยใช้กล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดอินซูลินอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หลังฉีด เพราะจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต เร็วเกินไป   

3. อย่าออกกำลังในช่วงที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด   

replica horloges 4. ผู้ป่วยโรคเบาหวานก่อนออกกำลังครั้งแรก จะต้องมีการคัดกรองก่อน    

โรคความดันโลหิตสูง    
กีฬาและการออกกำลังสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรเป็นการออกกำลังชนิดแอโรบิค ทำต่อเนื่องกันอย่างน้อย 20 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เช่น การเดินเร็ว วิ่งเหยาะ ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค ข้อควรระวังในการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีดังนี้    

1. ผู้ป่วยที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ควรดื่มน้ำและเกลือแร่ทดแทนส่วนที่ถูกขับจากร่างกาย ป้องกัน ภาวะกล้ามเนื้อสลายจากการสูญเสียโพแทสเซียม

2. ผู้ป่วยที่รับประทานยา beta - blocker จะมีผลต่อสมรรถภาพกล้ามเนื้อ อ่อนเปลี้ย เหนื่อยง่าย เล่นกีฬาได้ไม่ทน ยาจะยับยั้งไม่ให้มีการสลายตัวของไขมันไปเป็นกรดไขมันอิสระ จึงควรดื่มน้ำทดแทนให้มาก อีกทั้งควรระวังมีอาการหน้ามืด หรือเป็นลม เมื่อเริ่มกินยาครั้งแรก   

ถ้าเลือกชนิดการออกกำลังกายให้เหมาะสม และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็มีประโยชน์มากมาย และช่วยบรรเทาอาการของโรค รวมถึงโรคที่เป็นได้อย่างมาก


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว ในผู้สูงอายุ

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจต่างๆ มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจ

ยา...เรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย สำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมถอยลองมากอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่า

นอนไม่หลับ บ่งบอกถึงสุขภาพจิต

การนอนไม่หลับ เป็นอาการที่เรามักพบว่าผู้สูงอายุเป็นอยู่เป็นประจำ และเหมือนเป็นอาก

เสียสุขภาพจิต เสียคุณภาพชีวิต เพราะเป็นลำไส้อุดตัน

ลำไส้อุดตัน คือภาวะที่สิ่งต่างๆ ในลำไส้ ทั้งน้ำ อาหาร น้ำย่อย และของเหลวต่างๆ ไม

ปวดศีรษะ อาการอันตรายที่ต้องตรวจสอบ

นอกจากโรคประจำตัวแล้ว ผู้สูงอายุก็มักมีอาการเจ็บป่วยอยู่เรื่อยๆ ซึ่งอาจเป็นอาการต่าง

อัลไซเมอร์ โรคอันตรายใกล้ตัวผู้สูงอายุ

เรามักพบว่าผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุมากๆ มักมีอาการหลงๆ ลืมๆ และหากเป็นหนัก ก็จะมีพฤติ