เมื่อทราบว่าเป็นต้อกระจก ควรทำอย่างไรดี



เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อะไรๆ ก็ดูจะด้อยลงทุกอย่าง ทั้งสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน และความเสื่อมภายในร่างกาย ที่ทำให้เจ็บป่วย หรือเป็นโรคเกิดขึ้นที่เป็นเช่นนี้เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายจะทำงานด้อยประสิทธิภาพลง

โรคต้อกระจก เป็นโรคทางตาที่ถึงจะไม่ได้อันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็คงไม่มีใครอยากเป็นเนื่องจากเกิดขึ้นที่อวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมากอย่างดวงตา

โรคต้อกระจก มักเกิดจากการเสื่อมลงของร่างกายตามอายุทำให้เลนส์ตาที่ช่วยในการปรับภาพให้เห็นชัดมีลักษณะขุ่นขาวไป อย่างไรก็ตามอาจเกิดจากโรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน ดวงตาได้รับการกระทบกระแทก ถูกแสงแดดจัดเป็นประจำ หรือการใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์

ถ้าคุณกำลังสงสัยว่าตนเองจะเป็นโรคต้อกระจก ควรปฏิบัติดังนี้

1. เช็คอาการ และไปพบแพทย์
ในระยะเริ่มแรกของโรคจะมีอาการตามัวเหมือนมีฝ้าบางๆ มาบังสายตา ตาจะค่อยๆ มัวมากขึ้นอย่างช้าๆ โดยไม่มีอาการปวดตา ในรายที่เป็นมากอาจมองเห็นเลนส์ตาขุ่นขาว ในบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ต้อหิน และเลนส์แก้วตาหลุดได้ อย่างไรก็ตาม การไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคจะมีความแม่นยำและเชื่อถือได้

2. รับการรักษา
- ในกรณีที่ยังเป็นไม่มาก และไม่รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันอาจไม่ต้องรักษาแต่ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์เป็น ระยะทุก 3-6 เดือน ในระยะที่เป็นไม่มากบางรายอาจมองเห็นได้ดีขึ้นถ้าใช้แว่นตัดแสงจ้าเปิดไฟให้สว่างขึ้น หรือใช้แว่นขยายช่วย
- ถ้าเลนส์ตาขุ่นมากทำให้มีปัญหาในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ควรได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเอาเลนส์ตาที่ขุ่นออกแล้วใส่เลนส์เทียม ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง หลังผ่าตัดผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาลและสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนหลังผ่าตัดเพียงแค่ 2-3 วันเท่านั้น

การป้องกันตนเองจากโรคต้อกระจก

- พยายามหลีกเลี่ยงการถูกแดดจัดสวมแว่นกันแดดถ้าต้องออกแดด
- ไม่สูบบุหรี่
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักใบเขียว
- ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจสายตาเป็นระยะ เช่น ตรวจทุก 2 ปี และในหากมีโรคประจำตัวบางอย่างที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาต่อการมองเห็น เช่น โรคเบาหวาน ควรได้รับการตรวจตาทุก 6-12 เดือน

ปัญหาเกี่ยวกับสายตา หากปล่อยไว้คงไม่ดีแน่ หากเริ่มต้นดูแลสายตาเสียแต่วันนี้ ก็จะช่วยป้องกัน และลดความเสี่ยงที่จะเป็นต้อกระจกได้มาก ผู้ที่เป็น ก็ควรดูแลตนเองอย่างดีเช่นกัน และไม่ควรปล่อยไว้อย่างเด็ดขาด


บทความที่เกี่ยวข้อง

แผนดูแลสุขภาพในแต่ละช่วงวัยของผู้สูงอายุ

หากพูดว่าผู้สูงอายุ ที่จริงแล้ว ก็คือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งในช่วงวัยสูงอ

ตรวจสุขภาพประจำปี ป้องกันโรค เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี

การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของคนเรา หลายคนมักมองข้ามว่า หากเราดูแลตนเองเป็นอย่

อาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ

คุณคงเคยพบเจออาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุในบ้านของคุณอยู่บ่อยๆ แ

ช่องคลอดอักเสบ เกิดขึ้นได้อย่างไร และควรทำอย่างไรดี

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เกิดขึ้นจากการที่ผู้หญิงมีการอักเสบจากการติ

หน้ามืด วิงเวียน เป็นลม อาการของผู้สูงอายุ

อาการหน้ามืด วิงเวียน เกิดขึ้นได้เมื่อผู้สูงอายุปรับเปลี่ยน

การดูแลสายตาหลังการผ่าตัดต้อกระจก

โรคตา เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้ในผู้สูงอายุทุกคน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสายตาสั้น สายตายาว และโรคที่เกิดขึ้นก