มาทำความรู้จักอาการเนื้อสมองตายกันเถอะ



หากญาติผู้ใหญ่ของคุณตรวจพบว่าเป็นเนื้อสมองตายเหตุขาดเลือด คุณคงตกใจมาก และคิดไปต่างๆ นานาว่าจะเป็นอัมพาตหรือไม่ หรือว่าสมองเสื่อม หรืออาจเสียชีวิตหรือไม่ ความจริงแล้ว เนื้อสมองตายเหตุขาดเลือดคืออะไร

เนื้อสมองตายเหตุขาดเลือด คือ โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า “โรคอัมพาต” นั่นเอง เกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดสมอง ทำให้เนื้อสมองส่วนนั้นขาดเลือดมาเลี้ยง เซลล์สมองบริเวณที่ขาดเลือดจึงตาย

ความรุนแรงของโรค
โรคเนื้อสมองตายเหตุขาดเลือด มีความรุนแรงของโรคแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้
1. ผู้ป่วยมีสุขภาพปกติ ในกรณีนี้จะไม่มีผลเสียต่อสมอง และสามารถรักษาด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยง
2. ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติของระบบประสาท เช่น หลงลืม ลมชัก ร่วมด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตถึง 20 %
3. ผู้ป่วยมีอาการอัมพาตครึ่งซีก กลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงถึง 50 %

ปัจจัยเสี่ยงของโรค
แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
- ปัจจัยที่แก้ไม่ได้ เช่น เพศชาย ผู้สูงอายุ มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
- ปัจจัยที่แก้ได้ เช่น การเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ การสูบบุหรี่ และการไม่ออกกำลังกาย

การป้องกันและการดูแลตนเอง
- การป้องกันทำได้โดย ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- การดูแลตนเอง แม้ว่าเนื้อสมองที่ตายแล้วจะฟื้นตัวได้ยากมาก แต่สมองคนเราก็มีความยืดหยุ่น สามารถมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ และสมองส่วนข้างๆ ก็สามารถพัฒนาหน้าที่ทดแทนให้ส่วนที่ตายได้เช่นกัน ดังนั้น คุณควรรักษาโรคประจำตัวที่เป็นอยู่อย่างดี หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ ฝึกฝนสมอง และพบแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจรักษาและป้องกันการเป็นอีก

โรคเนื้อสมองตายเหตุขาดเลือด ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่หากเกิดขึ้นแล้ว ย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตและสุขภาพจิตอย่างแน่นอน ดังนั้น คุณควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง งดการสูบบุหรี่ ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะช่วยให้ห่างไกลโรคได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ป้องกันได้อย่างไร

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุเพศชาย และสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายในการปัสสา

โรคที่พึงระวังในผู้สูงอายุ

เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ร่างกายคนเรามักเริ่มมีการเสื่อมโทรมของอวัยวะต่างๆ อันเป็นสาเหต

เคล็ดไม่ลับ ดูแลผิวสวยในผู้สูงอายุ

หากคุณมีผู้สูงอายุในบ้านของคุณ หรือกำลังเป็นผู้สูงอายุอยู่ในตอนนี้ คุณคงอาจเคยสัม

เบาหวานขึ้นตา ป้องกันและรักษาได้อย่างไร

โรคเบาหวาน เป็นโรคอันดับ 1 ของผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาล

ปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักลดในผู้สูงอายุ

ปัญหาน้ำหนักลดในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่พบได้ส่วนมาก ซึ่งเมื่อไปพบแพทย์มักตรวจพบว่ามี

รู้ทันโรคความจำเสื่อม

โรคความจำเสื่อม คงเป็นโรคที่ไม่มีใครปรารถนาจะอยากพบเจอ แม้ว่าจะมีชีวิ