ในวัยสูงอายุ เรามักพบว่าเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เนื่องจากสิ่งที่เราสะสมเอาไว้ในร่างกายตั้งแต่อายุยังน้อย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมโทรมของร่างกายตามกาลเวลาด้วย
อาการสับสน คิดช้า หรือหลงลืมได้ง่าย เป็นอาการที่เราพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ จนอาจเรียกได้ว่าเป็นกันโดยส่วนมากเลยทีเดียว แต่นอกจากจะเกิดจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาแล้วนั้น ยังอาจเกิดจากการเป็นโรคต่างๆ ได้อีกด้วย
อาการหลงลืมหรือคิดช้าลงเป็นอาการที่พบได้เมื่ออายุมากขึ้น หากมีปัญหาสุขภาพที่เฉียบพลัน เช่น การอักเสบติดเชื้อ หัวใจหรือสมองขาดเลือด ก็อาจเกิดอาการเพ้อ งุนงง สับสนได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อแก้ไขที่สาเหตุของการเจ็บป่วย อาการเหล่านี้ก็จะดีขึ้นได้ สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่คนในครอบครัวควรสังเกตก็คือ หากพบว่าผู้สูงอายุเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ พฤติกรรม และความทรงจำอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน นั่นอาจเป็นสัญญาณถึงอาการเริ่มต้นของภาวะสมอง
สัญญาณเตือนว่าผู้สูงอายุอาจมีสมองเสื่อม มีดังนี้
- เรียนรู้หรือจดจำสิ่งใหม่ๆ ลำบาก
- พูดซ้ำถามซ้ำ
- เริ่มบกพร่องในการทำสิ่งที่ซับซ้อน
- หลงทิศทางหรือลืมทิศทางในที่ที่ควรคุ้นเคย
- ไม่อยากเข้าสังคมหรือพูดน้อยลง
- อารมณ์หรือนิสัยเปลี่ยนแปลงไป
การป้องกันและการดูแล สามารถทำได้โดย
1. ถ้าคนในครอบครัวสังเกตเห็นว่าผู้สูงอายุเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด ความจำ จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินอาการและรับการรักษา
2. ทำกิจกรรมต่างๆ ที่กระตุ้นสมอง เช่น ทำงานหรือทำงานบ้านเท่าที่ทำได้ เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมกับครอบครัวและเพื่อนๆ อ่านหนังสือ เล่นเกม ออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นต้น
แม้ว่าภาวะความจำเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็มีวิธีที่จะช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคได้และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมาก ดังนั้น จึงไม่ควรละเลยที่จะสังเกตอาการ และหาทางช่วยเหลือให้ได้มากที่สุด
เมื่ออยู่ในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เรามักพบว่าผู้สูงอ
เรามักพบเห็นว่าผู้สูงอายุ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มักมีอาการหลงลืมอยู่บ่อยๆ ซ
วัคซีนในผู้สูงอายุ ป้องกันโรคร้ายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ระบ
อาหารเป็นพิษ เกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย เกิดจากการกินอาหาร หรือเ
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น การดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารการกินเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อร่างกายของผู้สูงว
กินผักผลไม้หลากสี ห่างไกลมะเร็งลำไส้ใหญ่ สำหรับผู้สูงอายุที่ใส่ใจสุขภาพ ลำไส้ของ