อัลไซเมอร์ โรคอันตรายใกล้ตัวผู้สูงอายุ



เรามักพบว่าผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุมากๆ มักมีอาการหลงๆ ลืมๆ และหากเป็นหนัก ก็จะมีพฤติกรรมแปลกๆ จนเราเรียกกันว่า “อัลไซเมอร์” อาการหลงๆ ลืมๆ ที่เกิดขึ้น อาจไม่ใช่โรคอัลไซเมอร์เสมอไป แต่โรคอัลไซเมอร์ก็มีความน่ากลัว เพราะเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดที่ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน จึงไม่อาจป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการเสื่อมสลายของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ มักมีอายุสั้นและเสียชีวิตภายใน 10 ปี หลังจากเกิดโรค

ระยะของโรค

ระยะที่ 1 ในระยะแรก ผู้ป่วยจะเริ่มจากการมีปัญหาเรื่องความทรงจำในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ความทรงจำระยะสั้น ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ไม่มีปัญหากับความทรงจำในระยะยาวหรือในอดีต เนื่องจากสมองที่เสื่อมลง ทำให้การตอบสนองต่างๆ ช้าลงด้วย ระยะนี้ ผู้ป่วยจะเชื่องช้าลง เริ่มจำชื่อ จำเส้นทางไม่ค่อยได้ ส่งผลให้หงุดหงิดง่าย

ระยะที่ 2 เริ่มมีปัญหาในการตัดสินใจเอง พูดคิดอะไรซ้ำๆ เริ่มมีปัญหากับการรับรู้ และการเรียบเรียงคำพูด ในระยะนี้ ควรมีการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดมากขึ้น และมีการจัดกิจวัตรประจำวันให้ มีการถามทบทวนในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดหรือให้สรุปสิ่งที่ต้องการสื่อสาร รวมถึงประเมินความสามารถด้านต่างๆ และพฤติกรรมของผู้ป่วย

ระยะที่ 3 เริ่มมีความบกพร่องในเรื่องความรู้ความสามารถมากขึ้น ไม่สามารถจดจำสถานที่ต่างๆ ได้ และเริ่มดูแลตนเองพื้นฐานไม่ได้ อาจทรงตัวได้ไม่ดี หวาดระแวง หูแว่ว การดูแลจึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย และมีการพบแพทย์เพื่อทานยาคุมพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

ระยะที่ 4 ผู้ป่วยอาจออกจากบ้านเร่ร่อนบ่อยขึ้น มีพฤติกรรมซ้ำๆ ตลอด เริ่มขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง และผู้ป่วยอาจจำใครไม่ได้เลย ระยะนี้จำเป็นต้องดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้เลย

การรักษาและป้องกัน

ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาได้ผลจริงจังในการป้องกันการเสื่อมของสมอง หรือหยุดยั้งการตายของเซลล์สมองที่เป็นเร็ว จึงต้องรักษาตามอาการของโรค 2 อย่าง ดังนี้

- รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาควบคุมจิตใจ พฤติกรรมก้าวร้าว ยานอนหลับสำหรับผู้ป่วยที่ไม่นอนในเวลากลางคืน ยาแก้เกร็ง เป็นต้น

- รักษาอาการสมองเสื่อม โดยการให้ยา และดูแลอย่างใกล้ชิด

ผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และเฝ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลงในทุกระยะ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกกับโรค ที่สำคัญ ต้องอาศัยความรักและความเอาใจใส่จึงจะช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ดีขึ้นได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนในผู้สูงอายุ ป้องกันโรคร้ายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

วัคซีนในผู้สูงอายุ ป้องกันโรคร้ายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ระบ

ระวังภัย !!! การหกล้มในผู้สูงอายุ อันตรายใกล้ตัว

การหกล้ม เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ แม้จะไม่อันตรายถึงชี

การแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ

ในวัยสูงอายุ เป็นที่ทราบกันดีว่า สุขภาพร่างกาย จะเสื่อมถอยลง ส่งผลต่อระบบร่างกายต่

ความดันโลหิตสูง ควบคุมได้

ความชรา นำมาซึ่งอาการเจ็บป่วย และโรคภัย แม้ผู้สูงอายุบางท่านจะสุขภ

อายุยิ่งมาก ยิ่งมีโอกาสเป็นพังผืดที่จอตา

ในวัยสูงอายุ เป็นที่ทราบกันดีว่า นอกจากโรคภัยต่างๆ ที่เข้ามาถามหาแล้

เมื่อทราบว่าเป็นต้อกระจก ควรทำอย่างไรดี

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อะไรๆ ก็ดูจะด้อยลงทุกอย่าง ทั้งสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้อย่างช