อาการที่บ่งบอกว่าขาดสารอาหาร และวิธีการแก้ไข


ในวัยสูงอายุนั้น การกินอาหารมักด้อยประสิทธิภาพลง เนื่องจากปัจจัยในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่องของระบบร่างกาย ความเจ็บป่วย รวมถึงสภาพจิตใจในขณะนั้นด้วย

การขาดสารอาหาร ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายโดยตรงอย่างแน่นอน ถ้าคุณกำลังกังวลว่าผู้สูงอายุของคุณกำลังขาดสารอาหารหรือไม่ อาจสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

- โดยปกติผู้สูงอายุมักจะแลดูผอมลง แก้มตอบ

- กล้ามเนื้อขมับทั้งสองข้างเล็กลง ตาลึกลง กล้ามเนื้อแขนขาก็อาจจะเล็กลงเมื่อมีอายุมากขึ้น

- น้ำหนักลดลงเรื่อยๆโดยธรรมชาติเมื่อเข้าสู่วัยชรา  ผู้สูงอายุอาจมีน้ำหนักลดได้บ้าง แต่ไม่ควรเกินร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวเดิมในเวลา 6 เดือน ซึ่งเกิดจากการลดลงของเนื้อเยื่อพวกกล้ามเนื้อ  กระดูก  ปริมาณน้ำในร่างกาย และอื่นๆ แต่ถ้าน้ำหนักลดมากเกิน ร้อยละ 5 จากน้ำหนักเดิม เช่น น้ำหนักเดิม 60 กิโลกรัม แต่ลดลงเหลือ 56 กิโลกรัม ภายในเวลา 6 เดือน มักจะมีสาเหตุที่เป็นความผิดปกติ ที่ควรปรึกษาแพทย์ครับ

การขาดสารอาหารนั้น สาเหตุหลักมาจากการกินอาหารที่ไม่เป็นไปตามโภชนาการอาหารที่ผู้สูงอายุควรจะได้รับ เมื่อเป็นปัญหาสะสมมาเรื่อยๆ ก็จะขาดสารอาหารในที่สุด ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารในผู้สูงอายุนี้ สามารถทำได้ดังนี้

1. แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆ
จากที่กินอาหารวันละ 3 มื้อ อาจเปลี่ยนมากินให้บ่อยขึ้น แต่เป็นมื้อเล็กๆ แทน ก็จะช่วยให้กินอาหารได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

2. ทราบว่าควรได้รับสารอาหารใดบ้าง
ในแต่ละวัย ร่างกายของคนเราควรรับสารอาหารต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสม และมีการเสริมสารอาหารที่จำเป็น ดังนั้น ผู้ที่ปรุงอาหารให้กับผู้สูงอายุ ควรศึกษาหาข้อมูลว่าใน 1 วัน ผู้สูงอายุควรได้รับสารอาหารใดบ้าง และในปริมาณเท่าใด สารอาหารใดที่ควรได้รับแต่น้อย เป็นต้น

3. ปรุงอาหารที่เหมาะกับสภาพร่างกาย และโรคประจำตัว
สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรปรุงอาหารที่สอดคล้องกับโรค เช่น เป็นโรคไต ก็ไม่ควรกินเค็ม เป็นต้น ส่วนอาหารทั่วไป ควรปรุงให้มีความเปื่อย อ่อนนุ่ม เพื่อให้เคี้ยวง่าย ไม่เจ็บเหงือก และช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ง่ายขึ้น

เพียงเท่านี้ก็สามารถจัดการกับโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุได้แล้วนะคะ เมื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปเรื่อยๆ ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารได้ แต่หากผู้สูงอายุดูปกติดี แต่ขาดสารอาหาร ควรพาไปพบแพทย์จะดีที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำอย่างไร เมื่อเป็นไมเกรน

โอ๊ย ปวดหัวจริงๆ สงสัยจะเป็นไมเกรนแน่ๆ แต่จะรู้ได้อย่างไรนะว่

ดูแลตนเองอย่างไร เมื่อเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการตีบและแข็งของหลอดเลือดแดงที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ

3 โรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ มักมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคไต โรคปอด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล

ใช้ชีวิตบั้นปลาย ให้ห่างไกลโรค

ชีวิต เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเราทุกๆ คน ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยใดของชีวิต ก็ควรดูแลรักษาสุขภาพร่า

การป้องกันการติดเชื้อ และโรคประจำตัวในผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ โรคภัยต่างๆ ก็มักจะเข้ามารุมเร้า และเกิดอาการเจ็บป่

รู้จักระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุ เพื่อการดูแลอย่างถูกต้อง

ระบบทางเดินอาหาร มีผลต่อการย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย เมื่อถึงวัยสูงอายุ ระบบทางเดินอาหารจะทำงานได้ลดลง