การฟื้นฟูสภาพ คือการกระทำที่ทำให้สมรรถภาพ หรือความสามารถทางกายต่างๆ ยังคงระดับที่ดีไว้ให้นานที่สุด ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้วย
การฟื้นฟูสภาพสำหรับผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็นผู้สูงอายุ 2 กลุ่ม ดังนี้
1. ในผู้ที่มีสุขภาพค่อนข้างดี
ผู้ที่ดูแลตัวเองมาดีอย่างต่อเนื่อง และมีสุขภาพค่อนข้างดี จะเน้นการฟื้นฟูโดยการออกกำลังกายเป็นหลัก ซึ่งมีคำแนะนำดังนี้
- ชนิดของการออกกำลังกาย ควรเป็นการว่ายน้ำ แต่ถ้าไม่สะดวก อาจใช้การเดินเร็วๆ หรือการขี่จักรยานก็ได้ การรำมวยจีนจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเอ็นและข้อต่อต่างๆ ได้ดี
- ขนาดของการออกกำลังกาย ต้องหนักเพียงพอ ที่จะทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกาย ทำงานมากกว่า โดยทั่วไปควรออกกำลังกายจนรู้สึกเหนื่อยพอประมาณ แต่ยังสามารถพูดประโยคสั้นๆ ได้
- ระยะเวลาในการออกกำลังกาย เริ่มจากน้อยไปมากคือ ประมาณ 5-10 นาทีก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาเป็น 20-30 นาทีต่อครั้ง หรืออาจแบ่งเป็น 15 นาที 2 ครั้งต่อวันก็ได้ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
- อย่าลืมอบอุ่นร่างกาย และผ่อนคลายก่อนและหลังออกกำลังกายทุกครั้ง
2. ในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ
มีวิธีการฟื้นฟูหลายทาง ดังนี้
- ใช้เครื่องมือทางฟิสิกส์ เช่น ใช้ความร้อน ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อฟื้นฟูบำบัดตามอาการ เป็นต้น
- ออกกำลังกาย เพื่อป้องกันอาการของโรค และสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งควรอยู่ในการดูแลของแพทย์
- การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยต่างๆ เช่น ไม้เท้า คอกช่วยเดิน รถเข็น เป็นต้น
- รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวจากแพทย์
การฟื้นฟูสภาพสำหรับผู้สูงอายุ มีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่พึงกระทำเป็นอย่างมาก เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพที่ดีขึ้น คงสมรรถภาพต่างๆ ทางร่างกายเอาไว้ให้ได้นานที่สุด นอกจากนี้ การมีอารมณ์แจ่มใส มองโลกในแง่บวก ก็ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงยืนนานได้เช่นเดียวกัน
ดวงตา เป็นสิ่งที่เสื่อมถอยไปตามกาลเวลา ผู้สูงอายุจึงมักมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา และโร
ผู้สูงอายุที่มีพุงพลุ้ยๆ ดูนุ่มนิ่มน่ากอดที่สุด อาจคิดว่าเป็นสิ่งที่ล
ผู้สูงอายุ มักมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคไต โรคปอด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล
โรคไต เป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะถามไถ่ผู้สูงอายุท่านใด ส่วนมากก็จะเป็นโรคไตร่วมด
นอกจากโรคประจำตัวแล้ว ผู้สูงอายุก็มักมีอาการเจ็บป่วยอยู่เรื่อยๆ ซึ่งอาจเป็นอาการต่าง
จะป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้อย่างไร เป็นคำถามที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงอายุ