หลักในการกินดีของผู้สูงอายุ อะไรควร และอะไรไม่ควร



“คนเรากินเพื่ออยู่ ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน” คำพูดนี้ เป็นคำพูดที่เตือนใจเราได้เป็นอย่างดีว่า อาหารเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย และหากตามใจปากมากเกินไป หรือสนุกสนานกับการกินโดยไม่สนใจว่ามีโทษหรือไม่ ก็จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างแน่นอน

การกินดี ช่วยให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง อายุยืน ในทุกช่วงวัยล้วนต้องทานอาหารที่ดีต่อร่างกายทั้งสิ้น โดยเฉพาะในช่วงสูงอายุ ซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำ ยิ่งต้องเคร่งครัดในการกินเป็นอย่างมาก หากอยากมีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว ไม่เจ็บไม่ป่วย ใช้ชีวิตในช่วงสูงวัยอย่างมีความสุข คุณควรเลือกทานอาหาร และไม่ควรเลือกทานอาหารดังต่อไปนี้

อะไรควรทาน
1. ควรทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ครบ 5 หมู่
2. ควรทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เพราะจะทำให้ท้องอืดและท้องผูกได้
3. ควรทานอาหารที่อ่อนนุ่ม สะดวกต่อการเคี้ยวและย่อยง่าย
4. ควรทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ไม่เน่าเสียและมีสารพิษเจือปน ไม่ปรุงด้วยผงชูรส และมีสารกันบูด
5. ควรดื่ม น้ำขิง น้ำมะตูม น้ำส้มคั้น น้ำนมพร่องมันเนย หรือน้ำนมถั่วเหลือง
6. ควรดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียง ประมาณวันละ 6-8 แก้ว เพื่อช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย
7. ควรทานไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด
8. ควรรับประทานอาหารที่มีเกลือแร่และวิตามินให้เพียงพอ

อะไรไม่ควรทาน
1. ไม่ควรทานอาหารรสจัดหรือของหมักดอง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด โดยเฉพาะเค็มจัด
2. ไม่ควรดื่มชา กาแฟ สุรา และยาสูบทุกชนิด
3. ไม่ควรทานอาหารประเภท ข้าว แป้ง และน้ำตาลมาก เนื่องจากจะทำให้อ้วน
4. ไม่ควรรับประทานข้าวขัดเป็นสีขาวและข้าวที่ปรุงใส่กะทิ ไขมัน เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ข้าวเหนียว ขนมเชื่อม และขนมหวานต่างๆ
5.ไม่ควรทานอาหารที่มีไขมันสูง หรือเนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ เช่น หมูสามชั้น ขาหมู หนังไก่ทอด อาหารทอด หรือผัดควรใส่น้ำมันน้อย เช่น ไข่เจียว ผัดผัก
6. ไม่ควรรับประทานผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ละมุด กล้วยหอม ลำไย น้อยหน่า ขนุน

เรื่องของอาหารการกิน ส่วนมากผู้สูงอายุมักมีความจำกัดดูแลตนเอง ดังนั้น บุตรหลาน และคนใกล้ชิด ควรดูแลเรื่องอาหารการกินให้กับญาติผู้ใหญ่ที่ท่านรัก เพื่อจะได้มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว และมีความสุขได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

6 ข้อปฏิบัติ ป้องกันและแก้ไขโรคกระดูกพรุน

กระดูกพรุน เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เนื่องจากมวลกระดูกลดน้อยลง และสามารถเกิ

3 อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังผิดปกติ

โรคภัย หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้ง่ายมากๆ เนื่องจากภ

มารู้จักกับ “โลก” ของผู้ป่วยอัลไซเมอร์

เมื่อโลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ”  สัดส่วนจำนวนประชากร “ผู้สูงวัย” เพิ่มมากขึ้นพ

อยู่ดี กินดีอย่างไร ห่างไกลไขมันในเลือดสูง

โรคไขมันในเลือดสูง เป็นโรคที่มีความอันตราย อาจนำไปสู่โรคหัวใจ อาการหัวใจขาดเลือด ห

ลดความดันโลหิต ด้วยยาไฮดราลาซีน

โรคความดันโลหิตสูง เป็นอีกหนึ่งโรคที่มักพบได้ในผู้สูงอายุเกิดเนื่

อายุยิ่งมาก ยิ่งมีโอกาสเป็นพังผืดที่จอตา

ในวัยสูงอายุ เป็นที่ทราบกันดีว่า นอกจากโรคภัยต่างๆ ที่เข้ามาถามหาแล้