เมื่อผู้หญิงเราก้าวเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือที่เรามักเรียกว่า “วัยทอง” นั้น ร่างกายจะสิ้นสุดการมีประจำเดือนอย่างถาวร ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคน
วัยหมดประจำเดือน มักเริ่มต้นเมื่ออายุ 47-50 ปี เริ่มจากการที่รังไข่ทำงานไม่ปกติ ทำให้มีประจำเดือนถี่ขึ้น หรือไม่สม่ำเสมอ ระยะห่างระหว่างรอบของการมีประจำเดือนจะค่อยๆ ห่างออกไป จนไม่มีประจำเดือนอย่างถาวร โดยส่วนมากใช้เวลา 2-8 ปี
ในระยะใกล้หมดประจำเดือนไปจนถึงช่วงวัยที่หมดประจำเดือน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงกับร่างกายมากมาย เราจึงพบว่าผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนจึงมักมีอาการเจ็บป่วย หรือสุขภาพไม่ค่อยดี ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน รวมไปถึงมีปัจจัยทางด้านสังคม พันธุกรรม และความแข็งแรงของร่างกายมาเสริมด้วย
การดูแลตนเอง
การดูแลตนเองและการปฏิบัติตนของผู้สูงอายุในวัยหมดประจำเดือน มีดังนี้
- ควบคุมอาหาร ทานอาหารที่มีประโยชน์เสริมสร้างร่างกาย ลดอาหารบางประเภท เช่น แป้ง และไขมัน โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง
- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพื่อสร้างมวลกระดูก ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง เพราะในช่วงนี้กระดูกจะเปราะบางและอาจเป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่าย เนื่องจากขาดฮอร์โมน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ และตรวจ Mammogram ในรายที่จำเป็น เช่น สงสัยว่าตนเองจะเป็นมะเร็ง เป็นต้น
- ตรวจร่างกาย และตรวจภายในประจำปีเพื่อให้ดูแลสุขภาพได้อย่างตรงจุด และเป็นการป้องกันและรักษาโรคได้อย่างทันท่วงที
- ปรึกษาแพทย์ และใช้ฮอร์โมนทดแทนในรายที่จำเป็น
- ทำจิตใจให้เบิกบานแจ่มใส ไม่เครียดกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และเรื่องรอบตัว
แม้จะอยู่ในช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนแล้ว หากคุณรู้จักดูแลตนเองอย่างดี เอาใจใส่เรื่องสุขภาพ ก็สามารถยิ้มรับกับวัยสูงอายุ ได้สมกับเป็นวัยทองอย่างแท้จริง
แม้จะวัยสูงอายุ จะเป็นวัยที่มากด้วยประสบการณ์ ผ่านร้อนผ่านหนาวมาจนสามารถเผชิญกับท
อาการเบื่ออาหาร เป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุมักพบเจอ ไม่ว่าจะทานอะไรก็ไม่อร่อย หรือมีความ
ผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุมากขึ้น ย่อมมีปัญหาทางร่างกายต่างๆ ตามมา รวมถึงระบบขับถ่ายด้วย เพราะทำงานได้ลดลง
ผู้สูงอายุทั้งหลาย ถ้าท่านไม่อยากแก่เกินวัย และยังดูสดใส ไม่แพ้วัยหนุ่มสาวแล้วล่ะก็ ว
สำหรับบ้านที่มีผู้สูงอายุ คุณคงเอาใจใส่เรื่องอาหารการกินของญาติผู้ใหญ่เป็นพิเศษอยู่แล้ว แต่คุณทราบหร