ความดันโลหิตต่ำ ภาวะอันตรายที่พึงระวัง



หากพูดถึงความดันโลหิตสูง คงเป็นที่รู้จักของใครหลายๆ คน และเป็นภาวะที่ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และสูงอายุมักจะเป็น แต่หากพูดถึงความดันโลหิตต่ำ อาจจะฟังไม่คุ้นหูนัก

ความดันโลหิตต่ำ เป็นภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท หรือ ความดันโลหิตไดแอสโตลิค ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท หรืออาจเป็นทั้งสองอย่างโดยผู้ที่เป็นจะมีอาการตาลาย วิงเวียน หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้อาเจียน มือเท้าเย็น เหงื่อออกมาก หายใจเร็ว กระหายน้ำ อาจมีผื่นขึ้น ตัวบวม เจ็บแน่นหน้าอก หรือชักหมดสติได้หากความดันต่ำมาก

สาเหตุการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
- ปริมาณน้ำ ของเหลว หรือเลือด ไหลเวียนลดลง เลือดจึงกลับเข้าสู่หัวใจน้อย หัวใจจึงเต้นบีบตัวน้อยลง เช่น ภาวะขาดน้ำ ขาดเกลือแร่ เลือดออกรุนแรง เป็นต้น
- ภาวะโลหิตจาง เมื่อเลือดเข้มข้นน้อยลง ความดันโลหิตจึงลดต่ำลง
- ทานอาหารปริมาณมาก ส่งผลเลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารและลำไส้มาก จึงเกิดเลือดคั่งในกระเพาะอาหารและลำไส้ เลือดจึงกลับเข้าหัวใจลดลง ทำให้ความดันต่ำไปด้วย
- โรคของประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายคั่งอยู่ในเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ จึงไหลกลับเข้าหัวใจน้อยลง ทำให้ความดันต่ำ
- ภาวะติดเชื้อรุนแรงในกระแสโลหิต
- การแพ้ยา แพ้อาหาร ผลข้างเคียงจากยา และการตั้งครรภ์ในบางราย

ปัจจัยเสี่ยง
- ผู้สูงอายุ เนื่องจากดื่มน้ำน้อย และไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย
- มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หัวใจ ต่อมไทรอยด์ และภาวะซีด
- กินยาบางชนิด เช่น ยาขับน้ำ ยาโรคความดันโลหิตสูง และยาโรคเบาหวาน
- ภาวะขาดน้ำจากท้องเสีย อาเจียนรุนแรง หรือภาวะลมแดด

การดูแลตนเอง
- ควรปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว และเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ
- ทานอาหารในปริมาณที่พอดี
- ควบคุมโรคที่เป็นอยู่ให้ดี

ภาวะความดันโลหิตต่ำ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีผลเสียไม่แพ้ภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งควรระมัดระวังมากกว่าความดันโลหิตสูงเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากภาวะนี้มักไม่ค่อยแสดงอาการ จนกระทั่งเข้าภาวะที่ค่อนข้างหนัก ดังนั้น หมั่นตรวจสุขภาพ และระวังอย่าให้ร่างกายขาดน้ำนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูแลผมของคุณให้ดกดำ ไม่ร่วงหล่นไปตามวัย

ปัญหาผมร่วง หรือผมบาง เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความหนักใจให้กับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เมื่ออายุเพิ่มข

ทานอาหารอย่างไร ไม่ให้ท้องผูก

อาการท้องผูก เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุทุกคน เกิดจากการที่ระบบร่างกายทำงานแปรปรวนไป แ

บำบัดโรคทางใจในผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ นอกจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง จนอาจเกิดอาการเจ็บ

ติ่งเนื้อบนผิวหนัง อันตรายหรือไม่

ติ่งเนื้อที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง เป็นติ่งที่มีก้านติดกับผิวหนัง ขนาดประมาณ 1-5 มิลลิเมตร

โรคผิวหนัง อาการคัน และผื่น กับวัยของผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ผิวหนังจะเริ่มเหี่ยวลง และอาจมีอาการคันมาก มีผื่นขึ

ยาไซโคลสปอริน เพื่อผู้สูงอายุที่ปลูกถ่ายอวัยวะ

ผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น อาจก่อให้เกิดโรค หรือการสูญเ