หน้ามืด วิงเวียน เป็นลม อาการของผู้สูงอายุ



อาการหน้ามืด วิงเวียน เกิดขึ้นได้เมื่อผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนอิริยาบถในทันที ซึ่งมีทั้งเป็นชั่วคราว และถึงขั้นเป็นลมหมดสติไปได้ อาการเหล่านี้ มักเป็นในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ก็แสดงให้เห็นถึงสภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งต้องแก้ไข

สาเหตุของการเกิด
อาการหน้ามืด วิงเวียน เกิดจากการที่เลือดนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ที่เป็นมากในผู้สูงอายุ เนื่องจากว่า ผู้สูงอายุมีร่างกายที่เสื่อมถอยไปตามสภาพ ทำให้กลไกการควบคุมแรงดันเลือดเสื่อมสภาพลงไปด้วย ไม่สามารถควบคุมแรงดันได้ปกติ และเมื่อสมองได้รับเลือดเพียงพอ อาการเหล่านี้ก็จะค่อยๆ หายเป็นปกติ

กลไกดังกล่าวในผู้สูงอายุ ที่เสื่อมไปอาจเกิดจากโรคบางอย่าง เช่น โลหิตจาง โรคระบบทางเดินโลหิตและหัวใจ เป็นต้น การที่จะรู้ได้ จึงจำเป็นต้องไปพบแพทย์เท่านั้น

การเสริมสุขภาพ
หากสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอาการดังกล่าว ควรเสริมสุขภาพโดยการทานอาหารที่ได้สัดส่วนถูกต้อง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกหนีความเครียด ความวุ่นวายต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยการปรับตัว

การป้องกันอันตรายจากอาการ
- ปรับเปลี่ยนอิริยาบถอย่างระมัดระวัง และค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป
- ตรวจสอบความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายอยู่เสมอๆ
- หากมีอาการหน้ามืด ควรตั้งสติ นั่งหรือนอนราบลงกับพื้นเพื่อรอให้อาการดีขึ้น
- ในห้องน้ำ ควรมีราวจับเพื่อช่วยพยุงตัว
- ถ้ามีอาการหน้ามืด เป็นลมบ่อย ไม่ควรออกกำลังกายหนัก
- เมื่อหน้ามืด เมื่ออาการดีขึ้นควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจว่ามีโรคใดหรือไม่

การปฐมพยาบาล
- เมื่อผู้สูงอายุมีอาการหน้ามืด วิงเวียน หรือเป็นลม ควรรีบพยุงผู้สูงอายุไว้ไม่ให้ล้ม และค่อยๆ ให้นอนราบลงกับพื้น คลายเสื้อผ้าให้หลวม นอนหัวต่ำ และยกปลายเท้าสูงเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมอง
- ใช้แอมโมเนียหอมชุบสำลีส่ายไปมาที่จมูก และใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดบริเวณแขน ขา รวมถึงพัดให้อากาศถ่ายเท เมื่อผู้สูงอายุอาการดีขึ้น จึงค่อยเคลื่อนไหวต่อไป

แม้อาการหน้ามืด วิงเวียน เป็นลม จะไม่ได้เป็นอันตราย แต่หากเกิดล้ม ก็อาจได้รับความกระทบกระเทือนสมอง กระดูกหัก หรือตกจากที่สูงซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรระมัดระวังอาการดังกล่าวเป็นอย่างดี


บทความที่เกี่ยวข้อง

จะป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้อย่างไร

จะป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้อย่างไร เป็นคำถามที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงอายุ

อาการสมองเสื่อม ชะลอได้ใน 8 วิธี

สมองเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุโดยจำนวนอายุที่เพิ่มมากขึ้นจะเพิ่มความ

ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในผู้สูงอายุ ที่มีผลต่อการเกิดโรคและการรักษา

เหตุใดผู้สูงอายุจึงเกิดเจ็บป่วยได้ง่าย หรือรักษาโรคได้ยากกว่าในวัยเด็กหรือหนุ่มส

ปัญหาการได้ยิน เรื่องใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม

เราอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ที่ผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องการได้ยิน เพราะอายุที่มากข

โรคสมองเสื่อม รักษาอย่างไร

เรามักพบเห็นว่าผู้สูงอายุ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มักมีอาการหลงลืมอยู่บ่อยๆ ซ

ผิวผู้สูงอายุแห้งคัน เกิดจากอะไรและแก้ไขอย่างไร

ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผิวเริ่มจะแห้งมากขึ้น และเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป ผิวมักจะแห้งกร้านมาก และมี