ผู้ที่มีผู้สูงอายุในบ้านของท่าน หรือได้รู้จักคุ้นเคยกับผู้สูงอายุบางท่าน คงเคยมีปัญหาในการสื่อสาร หรือมีบางอย่างที่เข้าใจไม่ตรงกันใช่ไหมคะ ซึ่งสร้างความขำขันและเกิดการถกเถียงกันให้กับการสนทนาในครั้งนั้นได้เสมอ ไปดูว่าปัญหาเหล่านั้นมีอะไรบ้าง
สีฟ้า
ถ้าพูดถึงสีฟ้า คุณคงนึกถึงสีฟ้า ก็สีฟ้าไง เหมือนท้องฟ้าในวันที่สดใสนั่นแหละ แต่สีฟ้าของผู้สูงอายุ ทำไมมันถึงกลายเป็นสีเขียวไปได้ล่ะ
นั่นเพราะในสมัยก่อน สีฟ้าและสีโทนเขียว ถ้าไม่เขียวสด ผู้สูงอายุมักเรียกว่า “สีฟ้า” ส่วนสีออกเทาๆ ก็ดันเรียกว่า “สีเขียว” เสียนี่ แบบนี้ก็ต้องสื่อสารให้เข้าใจตรงกันเสียแล้วล่ะ
คำโบราณ
อีกหนึ่งปัญหาในการสนทนากับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-70 ปีขึ้นไป นั่นคือคำโบราณ ซึ่งฟังแล้วเป็นต้องร้อง “หา ??” เพื่อให้ทวนอีกครั้งว่าพูดคำว่าอะไร
ส่วนมากมักเป็นคำโบราณที่ผู้สูงอายุยังใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน แต่คนในสมัยนี้ไม่ค่อยได้ใช้หรือได้ยินกันแล้ว เป็นการเรียนภาษาโบราณไปในตัวอีกด้วย
ภาษาแบบชาวบ้าน
ภาษาแบบชาวบ้านนี้ ก็แตกต่างกันไปตามภูมิลำเนาของแต่ละท่าน ผู้สูงอายุบางท่านสามารถพูดภาษากลางได้ บางท่านก็ได้บ้างแต่ยังมีสำเนียงและคำบางคำของท้องถิ่นอยู่ และบางท่านก็พูดได้แต่ภาษาถิ่นของตนเอง
ซึ่งทำให้การสื่อสารในบางครั้งก็ไม่เข้าใจกัน เนื่องจากบางคำอาจจะไม่เข้าใจ เพราะเป็นศัพท์เฉพาะถิ่น และบางคำก็เข้าใจ เช่น คำว่า “ตรงๆ” ผู้สูงอายุบางท่านก็พูดว่า “กงๆ” เป็นต้น
คุณเคยประสบปัญหาขำขันแบบนี้ในการสนทนากับผู้สูงอายุ หรือผู้ใหญ่ในบ้านของท่านบ้างไหมคะ นี่ก็ถือเป็นเอกลักษณ์และเสน่ห์เฉพาะตัวอย่างหนึ่งของผู้สูงอายุก็ว่าได้นะคะ
คนสมัยใหม่ บางคนก็ไม่ชอบสนทนากับผู้สูงอายุ เพราะกลัวพูดกันไม่เข้าใจ แต่หากลองเปิดใจก็จะได้ประสบการณ์ชีวิต คำสั่งสอน และอะไรดีๆ จากท่านกลับมาอย่างแน่นอนค่ะ
แม้ว่าผู้สูงอายุในบ้านของคุณ อาจจะไม่ได้อบรมสั่งสอนคุณมากนัก หรือไม
สิ่งที่สำคัญในผู้สูงอายุ คือการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องสุขภาพ เพราะเป็นช่วงวัย
เมื่อคนเราอายุ 30 ปีขึ้นไป ร่างกายจะเสื่อมถอยลง การทำงานต่างๆ ในร่างกายที่เคยทำงานได้
ไม่ว่าจะพูดถึงบทความเกี่ยวกับผู้สูงอายุใดก็ตาม เรามักเห็นว่าโภชนาการที่ดี เป็นสิ
แม้ผู้สูงอายุจะอยู่ในช่วงวัยที่ต้องการการดูแลจากลูกหลาน แต่ผู้สูงอายุหลายท่านก็ยังชอบที่จะพึ่งพาตนเ
หากผู้สูงอายุที่บ้านของท่าน มีปัญหาเรื่องการฟัง คือฟังไม่ค่อยได