เข้าใจภาวะสูญเสียของผู้สูงอายุ เพื่อการดูแลอย่างถูกต้อง



ภาวะสูญเสีย เป็นภาวะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียความมั่นคง สูญเสียความมีหน้ามีตาในสังคม สูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง ไปจนถึงการสูญเสียสามีหรือภรรยาไปตามวัย เป็นต้น

เมื่อเกิดการสูญเสีย ย่อมส่งผลต่อจิตใจของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดความรู้สึก หรือการตอบสนองต่างๆ ตามมา ซึ่งในสภาวะเช่นนี้ ลูกหลานควรให้ความเข้าใจ และอยู่เคียงข้าง เพื่อให้ท่านผ่านพ้นความรู้สึกเหล่านั้นไปได้

ภาวะสูญเสียที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดความรู้สึก หรือการตอบสนองต่างๆ ดังนี้

ตกใจ อาการตกใจเป็นอาการสั้นๆ และมักเกิดเป็นอาการแรก เมื่อพบว่ามีการสูญเสียบางสิ่งบางอย่างไป ผู้สูงอายุบางท่านรู้สึกงง ไม่เชื่อ เซื่องซึม สงบนิ่ง หรือแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดแตกต่างกันไป

ระส่ำระสาย เป็นอาการที่ทำอะไรไม่ถูก ขาดสมาธิ แต่ก็พยายามที่จะดิ้นรนทำสิ่งที่อยู่เหนือความสามารถของตน ซึ่งอาการนี้จะรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาวะทางอารมณ์ของผู้สูงอายุ

ปฏิเสธ เมื่อเกิดความเจ็บปวดทางจิตใจ ผู้สูงอายุหลายท่านมักแสดงออกด้วยการปฏิเสธสิ่งที่รับรู้ ทั้งชั่วขณะ หรืออาจจะยาวนาน ขึ้นอยู่กับการยอมรับความจริงของผู้สูงอายุเอง ซึ่งผู้ที่มีอาการนี้ มักแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่วิตกกังวล ฉุนเฉียว หรือก้าวร้าว เป็นต้น

ซึมเศร้า รู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยว เงียบเหงา ไม่อยากคิดอยากทำอะไร รู้สึกสลดใจ สิ้นหวัง ท้อแท้ และหมดหนทาง

รู้สึกผิด ความรู้สึกผิด มักมาคู่กับภาวะซึมเศร้า รู้สึกมีบางอย่างติดค้างกับความสูญเสียนั้น เช่น รู้สึกอยากย้อนเวลากลับไปทำบางอย่าง หรือไม่ทำบางอย่าง เป็นต้น

วิตกกังวล ผู้สูงอายุมักวิตกกังวลยาวนาน และหวาดกลัว รู้สึกไม่มั่นคง ตื่นตระหนก และฟุ้งซ่านได้
โกรธก้าวร้าว บุตรหลานส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจเมื่อผู้สูงอายุมีท่าทีโกรธก้าวร้าว ที่ท่านเป็นเช่นนี้ เพราะยังมีบางความรู้สึก หรือความทุกข์บางอย่าง ที่ไม่สามารถแก้ไขได้

ทำใจยอมรับ เมื่อไม่สามารถทำสิ่งใดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ท้ายที่สุดผู้สูงอายุก็จะทำใจยอมรับ ในบางท่าน สามารถทำใจยอมรับได้โดยง่าย แต่ส่วนใหญ่ในผู้สูงอายุแล้วมักทำใจต่อการสูญเสียได้ยาก โดยเฉพาะการสูญเสียคนรัก ไม่ว่าจะเป็นสามี ภรรยา หรือลูกหลาน

ภาวะสูญเสีย ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เพราะเป็นช่วงวัยที่มีแนวโน้มจะสูญเสียได้ทุกเมื่อ ทำให้หาความมั่นคงในชีวิตไม่ได้ และยากที่จะเริ่มต้นใหม่ได้เหมือนในช่วงวัยอื่น ดังนั้น ลูกหลานควรให้ความรักความเข้าใจผู้สูงอายุเป็นพิเศษ และให้กำลังใจท่านให้ผ่านพ้นทุกความรู้สึกไปได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

การใช้ยาหยอดหูกับผู้สูงอายุ

ยาหยอดหู เป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องหู โดยรักษาอา

สิ่งที่ผู้สูงอายุควรพกไว้ในกระเป๋าส่วนตัว

ในวัยสูงอายุ เป็นวัยที่ร่างกายทำงานได้ลดลง ทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพได้ง่าย ทั้งระบบต่างๆ ก็ทำงานได้ไม่ด

โรคเบื่ออาหารกับผู้สูงอายุ

การที่ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร คงเป็นอาการปกติที่คุณสามารถพบเห็นได้ในญาติผู้ใหญ่ที่บ้านของคุณ แต่หากปล่อ

ผู้สูงอายุเที่ยวเพลินใจไปกับทริปครอบครัว

ใช้เวลาไปกับการทำงานมาทั้งสัปดาห์หรือทั้งเดือนแล้ว วันหยุดพักผ่อนประจำสัปดาห์หรือประจำเดือนทั้งที น่

การอำนวยความสะดวกเรื่องห้องน้ำให้กับญาติผู้ใหญ่

ในช่วงวัยสูงอายุ สภาพร่างกายของผู้สูงอายุจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ด้อยลง ส่งผลให้เก

อาหารสุขภาพ เพื่อสุขภาพที่ดี ชีวียืนยาว

ในปัจจุบัน ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องของสุขภาพกันมากขึ้น เนื่องจากอาหารที่ดี ช่วยเสริมส