การให้อาหารทางสายยาง สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถทานเองได้



ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักมีโรคประจำตัว หรือเจ็บป่วยด้วยอาการต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง เมื่อถึงคราวที่ไม่สามารถทานอาหารเองได้ หรือไม่ได้สติ ย่อมต้องให้การช่วยเหลือด้วยการให้อาหารทางสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง คือการให้อาหารเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารโดยผ่านสายยาง ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทานอาหารทางปากได้ แต่ระบบทางเดินอาหารยังคงสามารถย่อยและดูดซึมอาหารได้

ส่วนใหญ่การให้อาหารทางสายยาง จะให้วันละ 4-6 ครั้ง ตามมื้ออาหาร โดยแบ่งเป็นอาหาร 3-4 มื้อ และน้ำเปล่า หรือน้ำหวาน 1-2 มื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ

วิธีการให้อาหารทางสายยาง
- ทดสอบดูดสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหาร หากได้ แสดงว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะอาหารแล้ว
- เมื่อพร้อมแล้ว ให้ล้างมือให้สะอาดอีกครั้ง และเตรียมอุปกรณ์ในการให้อาหารเหลว และ อาหารเหลวตามแผนการรักษา
- บอกให้ผู้ป่วยทราบและกั้นม่าน
- จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายศีรษะสูงหรือท่านั่ง ถ้าผู้ป่วยนอนหงายไม่ได้ให้นอนตะแคงขวาศีรษะสูงอย่างน้อง 30 องศาและสูงได้ถึง 45 หรือ 60 องศา
- เปิกจุกที่ปิดรูเปิดสายให้อาหารและเช็ดรูเปิดด้านนอกของสายให้อาหารด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก
- สวมปลายกระบอกให้อาหารเข้ากับรูเปิดของสายให้อาหารแน่น แล้วดูดว่ามีอาหารเหลวมื้อก่อนเหลือค้างอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่
- ถ้าดูดไม่ได้อาหารเหลว ให้ตรวจสอบเพื่อยืนยันว่าสายให้อาหารยังคงอยู่ในกระเพาะอาหาร
- ถ้าดูดได้อาหารมื้อก่อนเหลือมากกว่า 1/4 ให้เลื่อนเวลาอาหารเหลวมื้อนั้นออกไปอีก 1 ชั่วโมง และถ้าหลังจาก 1 ชั่วโมงไปแล้ว อาหารในกระเพาะยังไม่ลดลงให้รายงานแพทย์ทราบเพื่อวางแผนการรักษาต่อ
- หากไม่มีปัญหาให้พับสายให้อาหาร ปลดกระบอกให้อาหารออกจากสายให้อาหาร
- เช็ดรูเปิดและด้านนอกของสายให้อาหารอีกครั้งด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก หรือ สำลีแอลกอฮอล์ 70%
- ใช้จุกปิดรูเปิดสายให้อาหาร
- จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าตะแคงขวาศีรษะสูง 45 องศา หรือท่านอนหงายอีก 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
- บันทึกปริมาณอาหารเหลวและน้ำที่ผู้ป่วยได้รับปริมารอาหารที่เหลือค้าง (ถ้ามี) พร้อมกับสภาวะแทรกซ้อน
- เก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ไปทำความสะอาด

ผู้สูงอายุที่ต้องให้อาหารทางสายยางส่วนใหญ่ ซึ่งยังรู้สึกตัว อาจกลัวและกังวลในการให้อาหารทางสายยาง แต่ขั้นตอนที่มากมายเหล่านี้ เป็นเครื่องยืนยันอย่างดีว่าคุณจะปลอดภัย และได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด จึงไม่ควรกังวลกับการให้อาหารทางสายยาง


บทความที่เกี่ยวข้อง

การดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว

ผู้สูงอายุ มักมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง เป

อาการของ “ผู้สูงอายุ” และการดูแลตนเอง

เมื่อมองดูตนเองเมื่อไร ก็รู้สึกว่าเริ่มมีริ้วรอย ตีนกาเพิ่มมากขึ้นไปทุกที กลับมามองอ

ผู้สูงอายุ บุคคลที่ทรงคุณค่าต่อครอบครัว

ผู้สูงอายุ มักคิดว่าตนเองเป็นบุคคลที่ด้อยค่า เนื่องจากร่างกายเสื่อมถอยลง เหี่ยวย่น ไม

เมื่อผู้สูงวัย มีอาการเบื่ออาหาร

อาการเบื่ออาหาร เป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุมักพบเจอ ไม่ว่าจะทานอะไรก็ไม่อร่อย หรือมีความ

รับมือและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ มักมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากที่เคยเป็นในวัยหนุ่มสาว แม้ว่าจะไม่ได้เกิดขึ้

การทานอาหารประเภทแป้ง และไขมันในวัยสูงอายุ

การทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นการบำบัดร่างกายที่ดีทางหนึ่ง ช่วยเสริมสร้างให้ร่างกา