อาการของสตรีวัยทอง



วัยทอง คือชื่อเรียกของผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน สาเหตุที่เรียกว่า “วัยทอง” เนื่องจากว่า ผู้หญิงในช่วงอายุนี้ จะมีเพียบพร้อมทุกอย่าง ทั้งครอบครัว เงินทอง ประสบการณ์ และควรเป็นวัยที่ได้หยุดพักผ่อนอย่างมีความสุขนั่นเอง

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยทอง สภาพร่างกายย่อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน เนื่องจากฮอร์โมนที่ค่อยๆ ลดปริมาณลง จนหมดไปในที่สุด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการต่างๆ ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงระยะสั้น
1. อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบตามตัวมักจะมีอาการร้อนซู่ขึ้นมาทันทีบริเวณหน้า ลำคอ และหน้าอก มักเกิดอาการอยู่นานประมาณ 3 - 5 นาที แล้วก็หายไป บางคนพบมีเหงื่อออกมากร่วมด้วย ส่วนใหญ่มักมีอาการในช่วงกลางคืน ทำให้นอนไม่หลับตามมา
2. อาการของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ได้แก่ ช่องคลอดอักเสบ คันช่องคลอด ช่องคลอดแห้ง ทำให้เจ็บเวลามีการร่วมเพศ
3. อาการช่องระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย
4. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ ได้แก่ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เครียด กังวล เหนื่อย เพลีย หมดความต้องการทางเพศ เป็นต้น
5. การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง ในวัยหมดระดูผิวหนังจะบางลง ความยืดหยุ่นลดลง
6. การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อและข้อ พบว่า กำลังของกล้ามเนื้อลดลง มีอาการปวดตามข้อ

การเปลี่ยนแปลงระยะยาว
1. การเปลี่ยนแปลงทางกระดูก เมื่อเข้าสู่วัยหมดระดูจะมีการสูญเสียกระดูกมากขึ้น แต่ละคนจะมีอัตราการสูญเสียกระดูกที่เร็วช้าแตกต่างกันไป ประมาณ 1 ใน 3 จะสูญเสียเนื้อกระดูกอย่างรวดเร็ว เกินกว่าร้อยละ 3 ต่อปี ทำให้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้เร็ว การสูญเสียกระดูกที่รวดเร็วในอัตรานี้อาจคงอยู่นาน 10-15 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มลดลง
2. การเปลี่ยนแปลงของหัวใจและหลอดเลือด พบว่าในวัยหมดระดูจะมีอุบัติการณ์และความชุกของโรคหัวใจ และหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น มีไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น

ช่วงใกล้หมดประจำเดือน และช่วงวัยทอง เป็นช่วงที่คุณสุภาพสตรีทั้งหลาย ควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงเสมอ เพราะร่างกายที่แข็งแรงก็เป็นภูมิคุ้มกันที่ดี ที่ช่วยให้อาการเหล่านี้ลดน้อยลงได้ นอกจากนี้ยังมีการให้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุอีกด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความสำคัญของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ มักมองว่าตนเองด้อยค่า ต้องพึ่งพาผู้อื่น และร่างกายก็เสื่อม

จัดหน้าที่ให้ญาติผู้ใหญ่ ได้มีส่วนรับผิดชอบในบ้าน

ความรู้สึกที่ผู้สูงอายุมักคิดอยู่ในใจเสมอ คือตนเป็นคนที่ไร้ค่าในบ้าน นอกจากจะไม่สามารถทำงาน ดูแลตนเอง

ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อถึงวัยสูงอายุ

แม้ตัวเลขจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมาพร้อมกับความเสื่อมของร่างกาย แต่

ผู้สูงอายุกับการเดินทางด้วยเครื่องบิน

ในช่วงวัยสูงอายุ ผู้สูงอายุหลายท่านชื่นชอบในการเดินทางท่องเที่ยว เพราะเป็นช่วง

ผู้สูงอายุเป็นโรคใด ที่ไม่ควรขับรถอย่างเด็ดขาด

สังคมที่วุ่นวายและเร่งรีบ แข่งขันกันในปัจจุบัน ทำให้ต่างคนต่างก็ต้องดูแลตนเองได้ ก

การป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน

ผู้สูงอายุ มักมีปัญหาต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิต อันเนื่องมาจากสภาพร่างกาย