ถ่ายทอดภูมิปัญญา จากวัยเก๋า สู่วัยรุ่น

วัยสูงอายุ ย่อมผ่านเหตุการณ์ ผ่านเรื่องราวต่างๆ มามากมายในชีวิต ได้เรียนรู้จนเกิดเป็นการสั่งสมประสบการณ์ มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ จนสังคมให้การยอมรับว่าเป็นปราชญ์ หรือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม ด้านแพทย์แผนไทย  ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม  ด้านปรัชญา ศาสนา ประเพณี และด้านโภชนาการ

ทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า ผู้สูงอายุสามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาเหล่านี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ลูกหลานได้ ซึ่งนับเป็นการทำประโยชน์ให้สังคม
การถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ สามารถทำได้หลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้

1. การบอกเล่า บรรยาย ด้วยวาจา เป็นวิธีการที่ผู้ถ่ายทอดเป็นฝ่ายบอกเล่า อธิบาย replica omega หรือถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์สั่งสมของตนให้แก่ผู้รับการถ่ายทอด ในรูปของคำพูด โดยผู้ถ่ายทอดจะต้องเป็นฝ่ายเตรียมเนื้อหาที่จะพูด วิธีนี้ผู้ถ่ายทอดจะมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ให้ความรู้

2. การสาธิต เป็นวิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาที่ผู้ถ่ายทอดแสดงหรือกระทำพร้อมกับการบอกหรืออธิบาย

3. การปฏิบัติจริง อาจหมายรวมถึงการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง เป็นวิธีการถ่ายทอดที่ผู้รับการถ่ายทอดลงมือกระทำจริงในสถานการณ์ที่เป็นอยู่จริง โดยผู้ถ่ายทอดเป็นผู้คอยแนะนำ ตรวจสอบและแก้ไข

4. วิธีถ่ายทอดโดยให้เรียนรู้จากสื่อด้วยตนเอง เป็นวิธีที่จัดเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ภูมิปัญญาในรูปของสื่อประสมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจด้วยตนเองมากที่สุด เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม ศูนย์การเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น

5. วิธีถ่ายทอดโดยจัดในรูปของแหล่งเรียนรู้ เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาที่จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ ตลาดนัดภูมิปัญญา เป็นต้น 

6. วิธีถ่ายทอดโดยใช้การแสดงพื้นบ้านเป็นสื่อ เป็นวิธีที่ใช้การแสดงที่ชาวบ้านนิยมชมชอบเป็นสื่อในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางภูมิปัญญา โดยที่ผู้รับการถ่ายทอดจะได้รับความเพลินเพลิดไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้

7. วิธีถ่ายทอดภูมิปัญญาโดยบันทึกองค์ความรู้ไว้เป็นลายลักษณ์ เช่น ตำราต่าง ๆ และในรูปของสื่ออื่น ๆ เช่น วีดิทัศน์ในรูปของวีซีดี/ดีวีดี เทปเสียง หรือแผ่นซีดีเสียง รวมถึงเว็บไซด์ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และสืบสานภูมิปัญญาต่อไปไม่ให้สูญหาย

ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่ทรงคุณวุฒิและมีคุณค่าในสังคม รวมถึงสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้ไม่ด้อยไปกว่าวัยอื่น โดยเฉพาะการถ่ายทอดสิ่งดีๆ ที่สั่งสมจนเกิดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อพัฒนาให้สังคมเจริญก้าวหน้าต่อไป


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้สูงอายุ ช่วงวัยอันทรงคุณค่าต่อสังคม

เมื่อต้องเข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุแทบทุกคนมักรู้สึกว่าตนเองกำลังถอยหลังไปเ

จัดหน้าที่ให้ญาติผู้ใหญ่ ได้มีส่วนรับผิดชอบในบ้าน

ความรู้สึกที่ผู้สูงอายุมักคิดอยู่ในใจเสมอ คือตนเป็นคนที่ไร้ค่าในบ้าน นอกจากจะไม่สามารถทำงาน ดูแลตนเอง

4 กิจกรรมคลายเหงา ให้กับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว เป็นการเปลี

หลักปฏิบัติ 9 ประการ บันดาลสุขให้ผู้สูงวัย

วัยสูงอายุ แท้จริงเริ่มจากวัยที่อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่เรามักเรียกผู้นั้นว่าสูงอายุจริง

4 การเปลี่ยนแปลงระบบร่างกายของผู้สูงวัย และการรับมือ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงสูงวัยนั้น ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย และล้วนแล้วแต่การเปลี่ย

7 มาตรการดูแลตนเอง ทำได้ ก็สุขภาพดี อายุยืนยาว

แม้ว่าในวัยสูงอายุ ร่างกายจะเริ่มเสื่อมถอย ทำให้มีความจำกัดหลายอย่างในการดำเนินชี