โรคสมองเสื่อม รักษาอย่างไร



เรามักพบเห็นว่าผู้สูงอายุ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มักมีอาการหลงลืมอยู่บ่อยๆ ซึ่งบุตรหลานก็เป็นห่วงเนื่องจากกลัวว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ไปในที่สุด

โรคสมองเสื่อม มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง รวมทั้งพฤติกรรม บุคลิกภาพ และอารมณ์ด้วย ส่งผลให้ในที่สุดแล้ว ไม่สามารถดูแลตนเองได้

สาเหตุของโรค
1. ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 65-70 ปีขึ้นไป
2. เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จากหลอดเลือดเส้นเล็กๆ อุดตันเป็นเวลานาน ทำให้เซลสมองตาย และการทำงานของสมองเสื่อมลง
3. ภาวะเลือดคั่งในสมองหรือเนื้องอกในสมอง หรือภาวะขาดวิตามินบี 1 พบในคนที่ดื่มสุรามาเป็นเวลานาน ขาดวิตามินบี 12 มักพบในคนที่ได้รับการผ่าตัด กระเพาะลำไส้มานานๆ และขาดอาหาร
4. โรคติดเชื้อที่มีผลทางสมอง เช่น ซิฟิลิส ไวรัสสมองอักเสบ ไวรัสเอดส์สมองเสื่อมจากการติดสุราเรื้อรัง
5. ภาวะที่เกิดตามหลังการขาดออกซิเจน เช่น มีอาการชักซ้ำ หรือ
6. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดต่อกันนานๆ

อาการของโรค
ในผู้ป่วยสมองเสื่อม มักพบว่ามีอาการต่างๆ คือ มีความบกพร่องในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่สามารถจดจำคำพูดระหว่างสนทนาได้ บกพร่องในการใช้ภาษาทั้งการพูดและการเขียน พูดไม่เป็นประโยค ขาดความต่อเนื่อง บกพร่องในการทำกิจวัตรและกิจกรรมประจำวันที่เคยทำได้ มีบุคลิกภาพ พฤติกรรม และอารมณ์ที่แปลกไปจากเดิม และนอนไม่ค่อยหลับ หากอยู่ในระยะท้ายอาจมีอาการทางจิตร่วมด้วย

การรักษาโรคสมองเสื่อม
การรักษาโรคสมองเสื่อมขึ้นอยู่กับสาเหตุ และการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง ซึ่งหากเป็นแล้ว สามารถรักษาได้ยาก แต่ก็ยังสามารถรักษาได้ในบางกรณีด้วยการผ่าตัด และใช้ยาบำรุงสมอง แต่ก็เป็นเพียงการชะลอความรุนแรงของโรคเท่านั้น ส่วนการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม ควรดูแลดังนี้
- ให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ เพื่อเสริมวิตามิน และเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและสมอง
- ให้ออกกำลังกาย เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก และไปเลี้ยงสมองอย่างเพียงพอ
- บริหารสมอง เพื่อชะลอความเสื่อมของสมอง เช่น หัดคิดเลข ทำงานศิลปะ เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดความเครียด และให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ

โรคสมองเสื่อม แม้เราจะไม่สามารถยับยั้งความเสื่อมที่จะเกิดขึ้นได้ แต่ก็สามารถลดปัจจัยเสี่ยง และชะลอความเสื่อมให้ช้าลงได้ ซึ่งต้องอาศัยความรักและเอาใจใส่จากบุตรหลานอย่างใกล้ชิด


บทความที่เกี่ยวข้อง

เวียนศีรษะ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้ามของผู้สูงอายุ

อาการเวียนศีรษะ เป็นอาการที่เกิดกับผู้สูงอายุได้บ่อยๆ แม้จะไม่ได้สร้างความเจ็บปวด แต่ก็ส่งผลต่อการดำเ

กินดี มีสุขภาพยืนยาว

อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลง และเกิดโรคภัยต่างๆ ตามมา ปัจจัยหนึ่งที่คุณสามารถควบคุมได

ปวดศีรษะ อาการอันตรายที่ต้องตรวจสอบ

นอกจากโรคประจำตัวแล้ว ผู้สูงอายุก็มักมีอาการเจ็บป่วยอยู่เรื่อยๆ ซึ่งอาจเป็นอาการต่าง

กระดูกแข็งแรง ด้วยอาหารสร้างมวลกระดูก

เรื่องของกระดูก สำคัญมากสำหรับช่วงวัยสูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีมวลกระดูกน้อ

คันทวารหนักไม่ควรอาย รีบไปหาหมอ

แม้ว่าการคันทวารหนักจะพบได้ในทุกวัย แต่ก็พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากความย

ยาไซโคลสปอริน เพื่อผู้สูงอายุที่ปลูกถ่ายอวัยวะ

ผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น อาจก่อให้เกิดโรค หรือการสูญเ