โรคเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยง การดูแล และการป้องกัน



โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิต เกิดจากความผิดปกจิของร่างกาย จนทำให้น้ำตาลเหลือคั่งในเลือดสูงมากกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากพันธุกรรม และการใช้ชีวิต

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรค
- โรคอ้วน และน้ำหนักตัวเกิน
- ไม่ออกกำลังกาย ทำให้การเผาผลาญไม่ดี
- พันธุกรรม
- เชื้อชาติ
- อายุมาก เนื่องจากเมื่ออายุมากเซลล์ต่างๆ ในร่างกายจะเสื่อมถอยลง และขาดการออกกำลังกายร่วมด้วย
- มีไขมันในเลือดสูง
- มีความดันโลหิตสูง

อาการของโรค
อาการหลักคือ หิวบ่อย กระหายน้ำ และปัสสาวะมากและบ่อย เหนื่อยอ่อนเพลีย ผิวแห้ง คัน ตาแห้ง มีอาการชาหรือเจ็บแปลบที่ปลายเท้า ผอมลงโดยไม่ทราบสาเหตุ แผลหายช้า และสายตาพร่ามัว

การดูแลตนเอง
เมื่อเป็นโรคเบาหวาน ควรเอาใจใส่ดูแลตนเอง ดังนี้
- ปฏิบัติตามแพทย์สั่ง ทั้งคำแนะนำ การฉีดวัคซีน และการทานยา
- ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม และควบคุมโรคต่างๆ ร่วมด้วย
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ จำกัดแป้ง น้ำตาล ไขมัน รสเค็ม และเพิ่มผักผลไม้
- รู้จักผลข้างเคียงจากยาเบาหวาน และการดูแลตนเองที่สำคัญ
- รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน และสุขภาพเท้าเป็นพิเศษ
- เลิกสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
- ไม่ซื้อยาทานเอง และไม่ใช้ยาสมุนไพรคู่กับยาเบาหวาน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงได้
- หมั่นพบจักษุแพทย์ เพื่อป้องกันเบาหวานขึ้นตา และอาจตาบอดได้

การป้องกันเบาหวาน
สามารถทำได้โดยดูแลตนเองอย่างดีในการกิน การออกกำลังกาย และลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ เมื่ออายุ 30 ปี ควรตรวจเลือดเพื่อดูน้ำตาลในเลือด จะได้ควบคุมและรักษาได้แต่เนิ่นๆ


บทความที่เกี่ยวข้อง

3 สิ่งที่ควรเตรียมไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุ

การดูแลผู้สูงอายุ สิ่งสำคัญที่สุดที่เราควรใส่ใจ คงหนีไม่พ้นเรื่องของความปลอดภัย เน

สถานที่รวมตัวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของผู้สูงอายุ

แม้จะอยู่ในวัยสูงอายุ แต่ก็ไม่จำเป็นที่คุณต้องอยู่แต่กับบ้านเพื่อเลี้ยงหลาน หรือ

“หกล้ม” เสี่ยงอันตรายกับ “ภาวะเลือดออกในสมอง”

ในวัยสูงอายุ การเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ช้าลง และยากลำบากขึ้น การมองเห็นก็ไม่ชัด

2 สิ่งที่ควรระมัดระวังในการดำเนินชีวิตสำหรับผู้สูงวัย

เข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุแล้ว สุขภาพอะไรต่างๆ นานา ก็ย่อมที่จะเสื่อมโทรมไปตามสภาพ สายตา

ความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย และการเตรียมพร้อมในแต่ละช่วงของวัยสูงอายุ

ในแต่ละช่วงอายุของคนเรา ย่อมมีความเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แม้จะดูว่าภายนอกไม่ค่อยเปล

ปัญหาระหว่างผู้สูงอายุกับลูกหลาน

ความแตกต่างระหว่างวัย ส่งผลให้เกิดความไม่เข้าใจ หรือเข้าถึงกันได้ยาก ซึ่งปัญหาเหล่าน