ผิวผู้สูงอายุแห้งคัน เกิดจากอะไรและแก้ไขอย่างไร

ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผิวเริ่มจะแห้งมากขึ้น และเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป ผิวมักจะแห้งกร้านมาก และมีอาการคันหรือแสบผิวร่วมด้วย ยิ่งเกาก็ยิ่งคัน และผิวก็ยิ่งแห้งมากกว่าเดิมโดยเฉพาะในบริเวณแขนด้านนอกและหน้าแข้ง เป็นบริเวณที่ผิวแห้งได้ง่ายเป็นพิเศษ



ปัจจัยที่ทำให้ผิวแห้งมาก
การที่ผิวผู้สูงอายุแห้งมาก มาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
- การอาบน้ำ
ผู้สูงอายุบางท่านมักรู้สึกร้อนบ่อยครั้ง และมักจะอาบน้ำทุกครั้ง ทำให้ในหนึ่งวันอาบน้ำมากกว่า 2 ครั้ง อาจอาบน้ำ 3-4 ครั้งต่อวันเลยทีเดียว หรือมีอาการหลงลืม ทำให้อาบน้ำบ่อยเพราะจำไม่ได้ว่าตนเองอาบไปแล้วหรือยัง จึงทำให้ผิวแห้งได้ง่าย
- การใช้สบู่
สบู่ทำให้ผิวแห้งตึงได้ง่าย สังเกตจากการที่เราเคยใช้สบู่ล้างหน้า เมื่อล้างเสร็จจะพบว่าหน้ารู้สึกตึง หากไม่อยากให้ผิวแห้งมาก ควรเปลี่ยนมาใช้สบู่ที่ไม่มีส่วนผสมของไขมันสัตว์ ที่จะทำให้ผิวแห้งตึง และสูญเสียความชุ่มชื้น
- การทายาประเภทคาลาไมน์
ยาประเภทคาลาไมน์ทำให้ผิวในบริเวณนั้นแห้งตึงมาก ดังนั้นหากผิวแห้งง่าย ควรหลีกเลี่ยงการทายาประเภทคาลาไมน์
- การถูกแสงแดดบ่อย หรืออยู่ในอากาศแห้งเย็น
การไม่หลีกเลี่ยงแสงแดด และอยู่ในห้องแอร์ หรือในที่ที่อากาศแห้งและเย็นเป็นประจำ จะทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น และแห้งตึง ทำให้แสบคันผิวอีกด้วย

การแก้ปัญหาผิวแห้งและคัน
- หมั่นทาโลชั่นบำรุงให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวเป็นประจำหลังอาบน้ำ และอาจทาก่อนนอนด้วย
- หลีกเลี่ยงแสงแดด มลพิษ และการอยู่ในห้องแอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน และบ่อยครั้ง
- ไม่ใช้สบู่ที่มีส่วนผสมของไขมันสัตว์ หรือไม่เหมาะกับสภาพผิวของผู้สูงอายุ
- ไม่อาบน้ำเกินวันละ 2 ครั้ง หากผู้สูงอายุมีเหงื่อออกบ่อย ให้ใช้การเช็ดตัว หรืออาบน้ำโดยไม่ถูสบู่แทน

ปัญหาผิวแห้งมากจนส่งผลให้แสบคัน ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดน้อยลง คุณจึงควรดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการอาบน้ำ และการทาโลชั่นบำรุงผิวของผู้สูงอายุด้วย ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถดูแลเองได้ แต่หากยังสามารถดูแลตนเองได้ ก็ฝึกให้ผู้สูงอายุได้รู้จักดูแลตนเอง เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาผิวแห้งคันได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์สำคัญของแคลเซียมต่อผู้สูงอายุ

แคลเซียม (Calcium) เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอาย

พฤติกรรมแบบใด เสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบ

ในวัยสูงอายุ ภูมิคุ้มกันจะลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด จึงอาจเกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้ แม้ว่

ต้อกระจก และต้อหิน สองโรคนี้ต่างกันอย่างไร?

โรคทางตาที่เรามักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งตัวผู้สูงอายุเองก็กลัวที่จะเป็น เพราะอาจส่งผล

ภาวะสมองฝ่อ เกิดกับผู้สูงอายุทุกคนหรือไม่ และจะป้องกันอย่างไร

หากพูดว่า “สมองฝ่อ” เรามักสงสัยว่า เมื่ออายุของเราเพิ่มมากขึ้น จะสามารถเป็นโรคสม

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มีความสุข

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักเผชิญกับความชราอย่างยากลำบาก เพราะนอกจากสภาพร่างกายที่ถดถอย

โรคเกาต์ เอาชนะได้ เพียงใส่ใจผู้สูงอายุ

โรคเกาต์เป็นอาการผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากการกินและไม่ค่อยออกกำลังกาย ส่วนมากพบในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้