การดูแลตัวเอง เมื่อเป็นต้อเนื้อ และ ต้อลม



ต้อเนื้อ และ ต้อลม เป็นชนิดของโรคตา ที่ไม่รุนแรงเท่ากับต้อหินและต้อกระจก แต่ก็อาจทำให้ตาบอดได้เช่นกัน หากมีการติดเชื้อ หรือมีอาการแทรกซ้อน

ต้อเนื้อ
ต้อเนื้อ เป็นความผิดปกติของเยื่อตาบริเวณชิดตาดำ กลายเป็นแผ่นเนื้อสีแดงรูปสามเหลี่ยม จึงเป็นที่มาของคำว่า “ต้อเนื้อ” เพราะเยื่อบุตาบริเวณนี้โดนลม แดด ฝุ่น อยู่เป็นประจำ ทำให้ต้อเนื้อค่อยๆ โตลามเข้าตาดำอย่างช้าๆ หากปล่อยทิ้งไว้หลายๆ ปี อาจลามเข้าตาดำมากขึ้นจนปิดรูม่านตา ตาจึงพร่ามัวลง

ต้อลม
ต้อลม เป็นโรคตาที่เกิดจากการถูกลมและแดดบ่อย ทำให้เยื่อหุ้มหัวตาหนาตัว มีสีเหลืองอ่อน กลายเป็นต้อเนื้อได้เช่นกัน
ต้อลมเป็นก้อนขาว หรือเหลือง นูนเล็กน้อยบริเวณเยื่อตาที่คลุมตาขาวข้างๆ ตาดำ ทำให้เยื่อบุตาเสื่อม และลุกลามเป็นเนื้อเข้าชิดตาดำ แต่ไม่เปลี่ยนเป็นมะเร็ง

สาเหตุการเกิด
สาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดต้อเนื้อ และ ต้อลม คือ แสงแดดจากดวงอาทิตย์ ดังนั้น ผู้ที่อยู่กลางแดดจัดเป็นประจำ จึงเป็นผู้มีภาวะเสี่ยงได้
นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้ระคายเคืองตา เช่น ลม ฝุ่น ควัน และภาวะตาแห้ง ก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน ซึ่งโรคนี้ไม่เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่สามารถกลายไปเป็นโรคมะเร็งได้

การดูแลตนเอง
หากคุณเป็นต้อเนื้อ และ ต้อลม ให้พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง สวมแว่นกันแดดกันลมเสมอๆ และหยอดตาอย่างระมัดระวัง ไม่บ่อยจนเกินไป

การใช้ยา ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ และหากต้องผ่าตัด ก็ไม่ต้องกังวล เพราะเมื่อผ่าตัดเสร็จ คุณสามารถกลับบ้านได้ โดยใช้เวลาในการรักษาแผล 1-2 สัปดาห์ ซึ่งอาจมีอาการปวดแผลบ้าง

หลายคนเข้าใจว่าต้องหลีกเลี่ยงอาหารแสลง ซึ่งในความจริง ไม่มีอาหารใดที่ให้งด คุณจึงทานได้ทุกอย่างเป็นปกติ และสามารถใช้สายตาได้หลังการผ่าตัดเพียง 1-2 วันเท่านั้น


บทความที่เกี่ยวข้อง

การป้องกันการติดเชื้อ และโรคประจำตัวในผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ โรคภัยต่างๆ ก็มักจะเข้ามารุมเร้า และเกิดอาการเจ็บป่

ความดันโลหิตต่ำ ภาวะอันตรายที่พึงระวัง

หากพูดถึงความดันโลหิตสูง คงเป็นที่รู้จักของใครหลายๆ คน และเป็นภาวะที่ผู้ที่มีน้ำ

ภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว ในผู้สูงอายุ

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจต่างๆ มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจ

ป้องกันอาหารเป็นพิษในผู้สูงอายุ

แม้ว่าอาการอาหารเป็นพิษ จะเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในวัยสูงอายุ ซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำกว

การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ด้านหัวใจและหลอดเลือด

การเปลี่ยนแปลงในช่วงสูงวัย เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ด้อยลง ทั้งการเปลี่ยนแปลงภายน

โรคซึมเศร้า ภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพจิต

สังคมที่วุ่นวายและเสื่อมโทรมในปัจจุบัน ส่งผลให้สุขภาพจิตของคนในสังคมย่ำแย่ตามไปด้วย โดยเฉพาะในผู้สูง