โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ป้องกันได้อย่างไร

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุเพศชาย และสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายในการปัสสาวะ ซึ่งส่งผลให้การใช้ชีวิตยากลำบากไปด้วย

อาการของโรค
โรคมะเร็งต่อมลูกหมากบางรายอาจจะไม่มีอาการ แต่หากมีอาการควรรีบพบแพทย์ทันทีซึ่งอาการของผู้เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีอาการดังนี้
- มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ ปัสสาวะต้องเบ่งนาน และปัสสาวะขัด ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในเวลากลางคืน และมีอาการปวดแสบระหว่างปัสสาวะมีเลือดปนในปัสสาวะหรืออสุจิ
- มีปัญหาต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ และปวดบริเวณหลังส่วนล่างหรือต้นขา

ปัจจัยเสี่ยง
แม้จะไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากปัจจัยใดกันแน่ แต่มักพบความเชื่อมโยงของโรคว่ามีปัจจัยเสี่ยงดังนี้
- อายุ พบในผู้มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และผู้ที่อายุต่ำกว่า 45 ปีพบได้น้อยมาก
- ประวัติครอบครัว หากมีพ่อ พี่ชาย หรือน้องชายเป็น ก็จะมีโอกาสเป็นสูงมาก
- มีเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงในต่อมลูกหมาก
- อาหาร การกินพวกเนื้อสัตว์ และไขมันสัตว์มาก

ความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมาก
โรคต่อมลูกหมากโตเป็นคนละชนิดกับมะเร็งต่อมลูกหมาก และไม่สามารถกลายไปเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่อาจพบร่วมกันทั้งสองโรคได้หากเป็นในระยะแรกคือ ระยะ 1 และระยะ 2 สามารถรักษาให้หายขาดได้ผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติการเป็นมะเร็งในเครือญาติ

การรักษา
มี 4 กลุ่ม คือ การผ่าตัดการฉายรังสีการใช้ฮอร์โมนและติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด

การป้องกัน
ป้องกันได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีสารเหล่านี้เป็นประจำ
-  สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่ช่วยสร้างฮอร์โมนเพศชาย มีมากในเมล็ดฟักทอง อาหารทะเล เช่น หอยนางรม
-  ไลโคพีน เป็นสารในตระกูลแคโรทีนอยด์ มีมากในมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ ฝรั่งขี้นก
- เบต้าซิโตสเตอรอล ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด และป้องกันต่อมลูกหมากโต พบในถั่วเหลือง จมูกข้าวสาลี น้ำมันข้าวโพด
- วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีมากในรำละเอียด น้ำมันรำ ธัญพืช ถั่วเหลือง ถั่วแดง ผักกาดหอม เมล็ดทานตะวัน งา น้ำมันถั่วลิสง

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แม้จะไม่ทราบถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดได้อย่างแน่ชัด แต่การป้องกันอย่างง่ายๆ ที่ดีต่อสุขภาพด้วยก็คือ การรู้จักรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ และได้รับสารอาหารที่สามารถป้องกันมะเร็งได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

ระวัง อาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

เรื่องของสุขภาพจิต ใครคิดว่าไม่สำคัญ เพราะจิตใจนั้น เป็นสิ่งที่ออกมาจากภายใน แม้จะ

โรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ

โรคจอตาเสื่อม เป็นโรคที่จะเกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แล

4 ข้อควรทำ ในการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ มีความเสื่อมถอยสัมพันธ์กันกับสุขภาพร่างกาย เนื่องจากสภาพร่า

โรคพีเอมอาร์กับผู้สูงอายุ

โรคพีเอมอาร์ หรือโรคปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนเหตุอักเสบเรื้อร

ภาวะสมองฝ่อ เกิดกับผู้สูงอายุทุกคนหรือไม่ และจะป้องกันอย่างไร

หากพูดว่า “สมองฝ่อ” เรามักสงสัยว่า เมื่ออายุของเราเพิ่มมากขึ้น จะสามารถเป็นโรคสม

การป้องกันการติดเชื้อ และโรคประจำตัวในผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ โรคภัยต่างๆ ก็มักจะเข้ามารุมเร้า และเกิดอาการเจ็บป่