เป็นโรคความดันโลหิตสูง จะดูแลตนเองอย่างไร



โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และสามารถตรวจพบได้ง่ายด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต ซึ่งค่าในคนปกติทั่วไป จะมีค่าความดันไม่เกิน 140 มิลลิเมตรปรอท และความดันตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุ

แม้ว่าโรคความดันโลหิตสูงจะตรวจพบได้ง่าย แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็มักละเลย เนื่องจากไม่มีอาการของโรคที่เด่นชัด กว่าจะเริ่มมีอาการบ้าง เช่น ปวดศีรษะ ก็พบว่าเป็นมาสักระยะหนึ่งแล้ว

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง เกิดได้จากการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคไต เนื้องอกของต่อมหมวกไตบางชนิด โรคครรภ์เป็นพิษ การใช้ยาสเตียรอยด์ และโรคกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิด นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นได้จากภาวะอ้วน ความเครียด หรือผู้ที่มีภาวะทางอารมณ์แปรปรวนอีกด้วย

การปฏิบัติตนและดูแลตนเอง
- ดูแลน้ำหนักตัวให้เหมาะสมน้ำหนักตัวที่มากเกินเกณฑ์ ส่งผลต่อการสูบฉีดโลหิตโดยตรง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มาก
- ควบคุมปริมาณอาหาร และหมั่นออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- หากเป็นโรคเบาหวาน ควรลดปริมาณอาหารประเภทไขมัน และควบคุมโรคให้ดี เพราะอาการของโรคเมื่อกำเริบ มักทำให้ความดันโลหิตสูงตามไปด้วย
- ทานยา และปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- พยายามควบคุมอารมณ์ ไม่หงุดหงิดโมโหง่าย และทำจิตใจให้สบาย แจ่มใส
- ผู้ป่วยที่ทานยาขับปัสสาวะ ควรทานส้มหรือกล้วยเป็นประจำ เพื่อทดแทนโพแทสเซียมที่เสียไปในปัสสาวะ
- หากพบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรืออยู่ในภาวะเสี่ยง ไม่ควรปล่อยให้หายเอง แต่ควรไปพบแพทย์ เพราะการทานยาเอง หรือไม่ได้รับการรักษา อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคความดันโลหิตสูง แม้จะตรวจพบง่าย และในระยะเริ่มต้นอาจไม่มีอาการที่น่าเป็นห่วง แต่คุณก็ไม่ควรละเลยเด็ดขาด เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องควบคุม และรักษาไปตลอดชีวิต ซึ่งอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน


บทความที่เกี่ยวข้อง

จอตาเสื่อม ภาวะทางสายตาที่ต้องรีบแก้ไข

ดวงตา เป็นอวัยวะที่สำคัญมาก เพราะใช้ประโยชน์ในการมองเห็น ทำให้เราสามารถดำเนินชีวิต

ระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่องของผู้สูงอายุ

ระบบในร่างกายของคนเรานั้นมีด้วยกันมากมายหลายระบบ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงสูงอายุ ระบบต

ดูแลป้องกันตนเองจากโรคข้อเสื่อม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

โรคข้อเสื่อม เป็นโรคอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นได้มากในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะบริเวณข้อเข่

ต้อหินเรื้อรังในผู้สูงอายุ

ต้อหิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ต้อหินเฉียบพลัน และต้อหินเรื้อรัง ต้อหินเรื

5 โรคสำคัญ สาเหตุเกิดอาการเวียนศีรษะหรืออาการบ้านหมุน

อาการเวียนศีรษะ หลายคนประสบมากับตัวเองมาแล้ว มีอาการ มึนหัว มึนงง ตัวลอยๆ ไม่มั่นคง

เมื่อผู้สูงอายุต้องเผชิญปัญหาท้องผูก

การขับถ่าย เป็นสุขอนามัยพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน และมีความจำเป็นในการดำรงชีวิต มนุษย์เร