โรคทางสมอง คืออะไร และจะป้องกันได้อย่างไร



โรคทางสมอง เป็นโรคที่มีความร้ายแรงต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานทั้งทางกาย และทางใจให้กับผู้สูงอายุ อีกทั้งยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยตรงอีกด้วย

หากเป็นโรคทางสมอง บุตรหลานจะต้องเข้ามาดูแลในทุกอย่างของชีวิตให้กับผู้สูงอายุ เนื่องจากโรคทางสมอง เป็นโรคที่ต้องอาศัยการพึ่งพาดูแลจากผู้อื่นอย่างใกล้ชิด จึงจะสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้

โรคทางสมอง เป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว และมีอาการเริ่มต้นที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นโรคทางสมองหรือไม่ หรือว่าเป็นอาการของผู้สูงอายุทั่วไป อาจเกิดจากการนอนไม่หลับในเวลากลางคืน หรืออาจรู้สึกมึนงงศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการของโรคทางสมองต่างๆ ได้ จึงควรรีบพบแพทย์อย่างเร็วที่สุด

โรคทางสมอง สามารถแยกย่อยได้อีกหลายโรค ดังนี้
1. โรคอัมพาต พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมักมีอาการเตือนของโรค คือ เส้นเลือดแตก และเส้นเลือดตีบ ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ทันที
2. โรคพาร์กินสัน เกิดในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยมักมีอาการสั่นทำให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลควรดูแลอย่างใกล้ชิด
3. โรคเครียด ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากสิ่งรอบตัว ภาวะรุมเร้า หรือเครียดจากการสูญเสีย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เป็นโรคเครียดเรื้อรังได้ คุณจึงควรจัดการกับอารมณ์ของตนเองให้ได้
4. โรคอัลไซเมอร์ พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ จึงควรหมั่นฝึกความจำ และใช้สมองอยู่เป็นประจำและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค
5. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคที่มีความรุนแรง เกิดจากเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนอย่างทันท่วงที
6. โรคสมองอักเสบ โรคนี้ระบาดมากในเขตร้อน และในหน้าหนาว โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
7. โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ โรคนี้มีอาการคือ มือชา ปวดนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง ส่งผลต่อการใช้ชีวิต

โรคทางสมอง ในระยะเริ่มมักไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจน การป้องกันที่ดีที่สุด จึงคือการทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่เครียด รวมถึงหมั่นสังเกตอาการและปรึกษาแพทย์ถึงอาการที่เกิดขึ้น เพราะอาจเป็นโรคทางสมองจนทำให้ผู้สูงอายุเสียคุณภาพชีวิตที่ดี และไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

กระดูกแข็งแรง ด้วยอาหารสร้างมวลกระดูก

เรื่องของกระดูก สำคัญมากสำหรับช่วงวัยสูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีมวลกระดูกน้อ

อาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รักษาอย่างไร

ผู้สูงอายุหลายท่าน มักตรวจพบว่าตนเองมีโรคประจำตัว และมีอาการของโรคเกิดขึ้นอยู่บ่อย

ป้องกันอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุอย่างไร

เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ดูเหมือนว่าร่างกายในส่วนต่างๆ หรือการทำงานของระบบร่างกาย ก็เร

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มีความสุข

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักเผชิญกับความชราอย่างยากลำบาก เพราะนอกจากสภาพร่างกายที่ถดถอย

เข้าสู่วัยสูงอายุเมื่อใด ต้องระวังภัยจาก 5 โรคอันตราย

ถ้าจะพูดกันถึงโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ เราคงพอจะนึกออกว่ามีโรคใดบ้าง แต่หากจะพูดถึ

ป้องกันอาหารเป็นพิษในผู้สูงอายุ

แม้ว่าอาการอาหารเป็นพิษ จะเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในวัยสูงอายุ ซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำกว