เราอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ที่ผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องการได้ยิน เพราะอายุที่มากขึ้น ก็ย่อมทำให้อะไรๆ หย่อนยานไปตามกาลเวลา ยกเว้นก็แต่หู ที่ตึงขึ้นทุกวัน แต่ในความจริงแล้ว เรื่องของการได้ยินมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตของเราทุกคนเป็นอย่างมาก ดังนั้น หากมีปัญหาเรื่องการได้ยิน คงไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่
ผู้สูงอายุจะมีความสามารถในการรับเสียงที่แย่ลง มักมีอาการหูอื้อหรือหูตึง โดยมีอาการเริ่มแรกคือ ไม่ค่อยได้ยินเสียงแหลมๆ หรือเสียงที่มีความถี่สูง เช่น เสียงผู้หญิง เสียงดนตรีคีย์สูงๆ หรือเมื่ออยู่ในสถานที่ซึ่งมีเสียงรบกวนก็อาจฟังไม่เข้าใจ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตในการสื่อสารกับผู้อื่นน้อยลงโดยไม่รู้ตัว
การป้องกันและการดูแล
การป้องกันและการดูแลสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างตัวผู้สูงอายุเองและลูกหลาน ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
1. สังเกตอาการ
ควรหมั่นสังเกตการณ์ได้ยินของตนเอง หรือลูกหลานก็ควรสังเกตการณ์ได้ยินของผู้สูงอายุ ว่ามีปัญหามาก หรือเริ่มมีปัญหาหรือไม่ เพื่อให้หาทางรักษาได้ทันท่วงที
2. ลูกหลานควรปฏิบัติต่อผู้สูงอายุด้วยความเข้าใจ
ด้วยการพูดคุยใกล้ๆ พูดช้าๆ ใช้เสียงทุ้มที่ดังกว่าธรรมดา และมีการสบตา เลือกยืนหรือนั่งพูดคุยในตำแหน่งที่ผู้สูงอายุสามารถเห็นปากผู้สนทนาได้อย่างชัดเจน เลือกสนทนาในสถานที่ที่ไม่มีเสียงรบกวน
3. ในกรณีที่มีปัญหาการได้ยินมาก
ไม่ค่อยได้ยินเสียง โดยเฉพาะเป็นทั้ง 2 ข้าง ทำให้รบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมาก คือ ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาปัญหาได้ในระดับหนึ่ง
แม้ว่าอายุที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้การรับรู้ของเสียงที่มาถึงเราน้อยลง หรือไม่ชัดเจนเหมือนในวัยหนุ่มสาว แต่หากปล่อยไว้เช่นนั้น ก็จะยิ่งทำให้เกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิต การเข้าสังคม หรือการสื่อสารต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด
ในผู้สูงอายุ มักมีปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่เสื่อมถอย และการทำง
ผู้สูงอายุ มักมีอาการต่างๆ ในทางที่ไม่ดี หรือเจ็บป่วยได้บ่อย เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอย และการทำ
โรคไต เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุ ซึ่งเมื่อเป็นแล้ว ส่งผลต่อการใช้ชีวิต และสร้า
โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ทำให้ความจำในส่วนต่างๆ ถดถอยไป และอาจสูญห
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เมื่อจะลุกจะนั่ง มักรู้สึกปวดเมื่อย หรือเจ็บปวดตามข้อต่างๆ ของร
กระดูกพรุน เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เนื่องจากมวลกระดูกลดน้อยลง และสามารถเกิ